หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 11

ประเภทหลักสูตร: 
หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.)
วันที่ฝึกอบรม: 
03 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 23 กรกฎาคม 2566

หลักการและเหตุผล :      

               สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)   เป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่กำกับดูแล ส่งเสริม และพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความมั่นคงและ   มีเสถียรภาพตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรประกันภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย เพื่อสร้างและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรทั้งในและนอกระบบประกันภัยให้มีความรู้ด้านการประกันภัย และพร้อมรองรับการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในอนาคต                  

               จากสภาพการณ์ในปัจจุบัน สังคมโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงอุบัติใหม่ (Emerging Risks)    ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในหลายมิติ ได้แก่ ๑. มิติการเกิด Digital Disruption ซึ่งมาพร้อมกับภัยคุกคามทาง     ไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ๒. มิติความเสี่ยงจากโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) ที่แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง และสถานการณ์คลี่คลายลงในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงมีการแพร่ระบาดและมีสายพันธุ์ใหม่ ๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๓. มิติด้านสิ่งแวดล้อม โลกกำลังประสบปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นผลกระทบขนาดใหญ่ที่เกิดจากสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ก่อให้เกิดมหันตภัยทั้งอุทกภัยและวาตภัยซึ่งมีความถี่และความรุนแรงที่สูงขึ้น อีกทั้งการโจมตีของคลื่นความร้อน (Heat Wave) ได้คร่าชีวิตประชาชนในประเทศแถบอเมริกาเหนือเป็นจำนวนมาก ๔. มิติทางเศรษฐกิจซึ่งในปัจจุบันเกิดภาวะเงินเฟ้อพร้อมๆ กันทั่วโลกอันส่งผลมาจากการขาดแคลนปัจจัยการผลิต ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะสงคราม และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) ๕. มิติด้านสังคม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ (Completely Aged Society) ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงาน และรัฐต้องรับภาระในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและสวัสดิการต่าง ๆ

               ท่ามกลางความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ การให้บริการที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ส่งผลให้มิติของการกำกับดูแลไม่สามารถดำเนินการลำพังแต่เพียงหน่วยงานเดียวได้ จึงจำเป็นต้องบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบประกันภัย และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงยั่งยืน

              สำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัด “การศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) (Thailand Insurance Leadership Program) รุ่นที่ ๑๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖” ขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันภัย ทั้งการประกันชีวิต การประกันวินาศภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยในด้านต่าง ๆ พัฒนาการของระบบประกันภัย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยสอดคล้องกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก เพื่อจะได้ระดมความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่หลากหลาย ช่วยให้ข้อเสนอแนะและพัฒนาระบบประกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถทำหน้าที่เป็น Insurance Ambassador โดยเป็นผู้สื่อสารความรู้ความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องของการประกันภัยให้สังคมและสาธารณชนได้

วัตถุประสงค์ :

               ๓.๑ เพื่อสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจด้านการประกันชีวิต การประกันวินาศภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

               ๓.๒ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการบริหารธุรกิจประกันภัย

               ๓.๓ เพื่อเสริมสร้างทักษะ และพัฒนาผู้บริหารให้บริหารงานเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๓.๔ เพื่อพัฒนาให้ผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และวิสัยทัศน์ในการบริหารงานองค์กร และพัฒนาระบบประกันภัยให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันในระดับโลก

               ๓.๕ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากมุมมองและประสบการณ์ที่แตกต่าง เพื่อพัฒนาระบบประกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน

 

ระยะเวลาอบรม :   3 กุมภาพันธ์ 2566 - 23 กรกฎาคม 2566

 

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี): 
AttachmentSize
PDF icon หลักการและเหตุผล วปส.รุ่นที่ 11222.75 KB
PDF icon ตารางอบรมหลักสูตร วปส.รุ่นที่ 11662.94 KB
PDF icon 10-02-66 ดร.ฐิติมา ชูเชิด ความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกกับโอกาสการค้า การลงทุน และการประกันภัยของไทยในยุค Emerging Risks2.75 MB
PDF icon 10-02-66 ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ บริหารความเสี่ยงอย่างไรใน VUCA World6.7 MB
File 10-02-66 ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Digital Engagement and Insurance Industry in the Next Normal17.77 MB
PDF icon 17-02-66 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ นโยบายของสำนักงาน คปภ.กับความท้าทายในการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยภายใต้ New Emerging Risk7.65 MB
PDF icon 17-02-66 นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ หลักการประกันภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย4.43 MB
PDF icon 23-02-66 ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ปัจจัยเสี่ยงด้านการลงทุน ปี 25665.38 MB
File 23-02-66 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม ความท้าทายในการเจรจาการค้า การลงทุน การค้าบริการ และการประกันภัยของไทยในภาวะผันผวนของการเมืองฯ15.82 MB
PDF icon 03-03-66 ดร.ธัชพล กาญจนกูล EEC Next Chapter Next Economy20.97 MB
PDF icon 03-03-66 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี โอกาสและความท้าทายของธุรกิจไทยในกลุ่มประเทศอาเซียนภายใต้วิกฤตและการเปลี่ยนแปลงของโลก3.94 MB
PDF icon 10-03-66 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ นโยบายเศรษฐกิจและทิศทางการกำกับดูแล ระบบประกันภัยให้ยั่งยืน442.3 KB
PDF icon 10-03-66 นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล Thai Insurance Industry Insights and Trend2.14 MB
PDF icon 10-03-66 นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล บทบาทการบริหารความเสี่ยงให้กับภาครัฐ และ ภาคธุรกิจประกันภัย5.81 MB
PDF icon 10-03-66 นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล การบริหารความเสี่ยง THAIVIVAT INSURANCE7.31 MB
PDF icon 10-03-66 ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน เจาะลึกประกันวินาศภัยสําหรับเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการ4.77 MB
PDF icon 10-03-66 นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ Reinsurance vs. Catastrophe & Emerging Risks7.04 MB
PDF icon 17-03-66 Mr Alok Shukla Regional Head of Agriculture, Munich Re นวัตกรรมประกันภัย เพื่อความยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำ 1.06 MB
PDF icon 17-03-66 ดร.สมพร สืบถวิลกุล เทคนิคบริหารจัดการสินไหมทดแทนของธุรกิจประกันภัย2.97 MB
PDF icon 17-03-66 นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รู้เฟื่องเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านการค้าการลงทุนชายแดนไทย ในกลุ่มประเทศอาเซียน3.28 MB
PDF icon 23-03-66 นายกิตตินันท์ อนุพันธ์ Digital Claim Management: Blockchain and AI21.2 MB
PDF icon 23-03-66 ดร.ภมรพล ชินะจิตร AI Technology & Metaverse Continuum กับอุตสาหกรรมประกันภัย3.91 MB
PDF icon 23-03-66 นายวิชชุกร นิลมานัตต์ Artificial Intelligence & Metaverse Continuum1.39 MB
PDF icon 21-4-66 นางสาวเสาวคนธ์ มีแสง นโยบายภาษีกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ในยุค Digitalisation5.37 MB
PDF icon 21-4-66 คุณสรชน บุญสอง InsurTech และกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลสําหรับธุรกิจ ประกันภัย5.13 MB
PDF icon 21-4-66 ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม PDPA Introduction2.32 MB
PDF icon 21-4-66 นางสาวสิริพักตร์ สุวรรณทัต การประกันภัยข้ามแดน21.51 MB
PDF icon 19-5-66 ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Rethink your insurance business with technology6.47 MB
PDF icon 25-5-66 ชัยยุทธ มังศรี โอกาสและผลกระทบของผู้บริโภคด้านประกันภัย2.66 MB
PDF icon 25-5-66 นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ โอกาศและผลกระทบของผู้บริโภค153.62 KB