แนวคิดและที่มา
นับตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2545 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการตื่นตัวในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหาร จัดการให้สอด คล้องตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี และเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมบรรษัทภิบาลมีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 6 คณะ และ 1 ในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว คือ คณะอนุกรรมการยกระดับธรรมาภิบาล Corporate Governance (CG) ด้านธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทประกันภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก (Report on the Observance of Standard and Codes : ROSCS) ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (หรือชื่อเดิม “กรมการประกันภัย”) ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมยกระดับธรรมาภิบาลในธุรกิจประกันภัย ขึ้นมาดูแลงานด้านนี้ โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการ
ภาย ใต้แนวทางของไอเอ็มเอฟและเวิลด์แบงก์ที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดมี ระบบการกำกับดูแลที่โปร่งใสและได้มาตรฐาน ทำให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องเข้ารับการประเมินแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ธุรกิจธนาคาร และบริษัทเงินทุนตามโครงการประเมินความมั่นคงทางการเงิน (Financial Sector Assessment Program : FSAP) ซึ่งไอเอ็มเอฟและเวิลด์แบงก์ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ทำการประเมินผลงานแล้วในปี 2550
ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวไม่ได้ประเมินเฉพาะระบบการกำกับดูแลของภาครัฐเท่านั้น แต่จะขยายผลไปถึงแนวทางการบริหารของภาคเอกชนด้วย และถึงแม้จะผ่านช่วงของการประเมินดังกล่าวแล้ว แต่ภาคเอกชนก็ควรที่จะปรับระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการกำกับดูแลตามหลักธรรมาภิบาลของภาครัฐตามมาตรฐาน สากล ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีรูปแบบการดำเนินงานที่ ชัดเจน สำนักงาน คปภ. โดยคณะกรรมการส่งเสริมยกระดับธรรมาภิบาลในธุรกิจประกันภัย จึงได้จัดทำ คู่มือแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทประกันภัย เพื่อให้เป็นเครื่องมือของบริษัทประกันภัยในการพัฒนายกระดับธรรมาภิบาลของ ตนเอง ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจประกันภัย จะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับกฏกติกาใหม่ตามหลัก
ธรรมาภิบาลสากล