แนวทางการกำกับ

    การประกันภัยต่อเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการบริหารความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งการประกันภัยต่อได้ถูกนํามาใช้เพื่อการกระจายความเสี่ยง ลดความเสี่ยง ตลอดจนลดความผันผวนทาง การเงิน อันเนื่องมาจากการรับประกันภัยหรือการมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย นอกจากนี้ การประกันภัยต่อยังมีบทบาทที่สําคัญในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการรับประกันภัย (capacity) ความมั่งคงทางการเงิน สภาพคล่อง ความเพียงพอของเงินกองทุน และการพึ่งพาความชํานาญ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้รับประกันภัยต่อ รวมถึงช่วยให้บริษัทประกันชีวิตสามารถรับมือกับเหตุการณ์ พิบัติภัยต่างๆ เช่น โรคระบาด แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม การประกันภัยต่อมิได้ปลดภาระความรับผิดชอบของบริษัทประกันชีวิตในฐานะ ผู้รับประกันภัยที่มีต่อผู้เอาประกันภัยลงได้ โดยที่บริษัทประกันชีวิตยังคงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด ภายใต้สัญญาประกันภัยที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เรียกร้องสิทธิ แม้ว่าผู้รับ ประกันภัยต่อจะล้มละลายหรือปิดกิจการ ในกรณีที่บริษัทประกันชีวิตอาศัยการประกันภัยต่ออย่างมีนัยสําคัญ ในการลดความเสี่ยงจากการรับประกันภัย ความบกพร่องของการจัดการการประกันภัยต่ออาจกระทบต่อ สภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของบริษัทประกันชีวิตได้

    ขณะเดียวกัน บริษัทประกันชีวิตอาจดําเนินการรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากการรับประกันภัยโดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทประกันชีวิตมีความเสี่ยง จากการรับประกันภัยเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของการกระจุกตัวของภัย การสะสมภัย ตลอดจนความสามารถในการ บริหารความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อ จึงมีบทบาทสําคัญในการสร้าง ความมั่นใจว่าบริษัทประกันชีวิตจะมีความสามารถในการปฏิบัติตามภาระผูกพันที่มีตามสัญญาประกันภัยหรือ สัญญารับประกันภัยต่อได้ ทั้งนี้การบริหารและการควบคุมการเอาประกันภัยต่อ หรือการเอาประกันภัยต่อช่วง (Retrocession) รวมถึงการรับประกันภัยต่อควรสอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยง และนโยบาย บริหารความเสี่ยง รวมถึงระดับเงินกองทุนของบริษัท

ไทย