ข่าว

คปภ.ประเดิมปีแรก..! ตะลุยเกมรุกบุกกลุ่ม Gen Z ในรั้วมหาวิทยาลัย

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
02 ตุลาคม 2565

คปภ.ประเดิมปีแรก..! ตะลุยเกมรุกบุกกลุ่ม Gen Z ในรั้วมหาวิทยาลัย 

ด้วยโครงการการเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย OIC Be Smart First Jobber 
เดินหน้าประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบการประกันภัย ชิงรางวัลกว่า 70,000 บาท 
โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลและสิทธิพิเศษในการเยี่ยมชมห้องทำงานเลขาธิการ คปภ. ซึ่งจะนำทัวร์สำนักงาน คปภ. และร่วมรับประทานอาหารเมนูเอ็กซ์คลูซีฟรังสรรค์โดยเฉพาะจากเชฟธันวา
 
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการการเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย OIC Be Smart First Jobber โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการประกันภัยที่สามารถใช้บริหารจัดการความเสี่ยงได้จริง และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนแปลงในระดับพฤติกรรมเพื่อให้การประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงอย่างแท้จริง โดยมีอาจารย์และนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 
ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 - 8 อาคาร KX Knowledge Xchange (อาคารเคเอกซ์) ถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. ได้จัดกิจกรรมโครงการการเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย OIC Be Smart First Jobber โดยเริ่มนำร่องในปีนี้เป็นปีแรก ณ สถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 4 แห่ง ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวันที่ 30 กันยายน 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และสิ้นสุดโครงการในปีนี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ซึ่งการออกแบบกิจกรรมสำหรับนิสิตนักศึกษานับเป็นโจทย์ที่มีความท้าทายที่สุดของสำนักงาน คปภ. เพราะจำเป็นต้องมีรูปแบบหลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของนิสิตนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม Gen Z  ซึ่งเติบโตในยุคที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) และอินเทอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นในแต่ละกิจกรรมจึงต้องเลือกกลยุทธ์การดำเนินการที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ใน 4 ประเด็น ได้แก่ Be Direct and Keep it H.O.T , Be Brave, Be Inclusive และ Co Create ดังนี้
 
ประเด็นแรก กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการประกันภัยเพื่อบอกเล่าความสำคัญของการประกันกันภัย
ในรูปแบบ 24/7 หรือ 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของน้อง ๆ นิสิตนักศึกษา ทั้งการประกันชีวิต การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยที่อยู่อาศัย การประกันภัยการเดินทาง การประกันภัยสุขภาพ การประกันภัย
ที่เชื่อมโยงกับการลงทุนและการวางแผนภาษี ผ่านประสบการณ์ตรงของ คุณจิตนเร บุญแสงวัฒน์หรือเชฟธันวา 
ผู้เข้าแข่งขันจากรายการมาสเตอร์เชฟประเทศไทย ซีซั่นที่ 4 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเน้นรูปแบบการนำเสนอที่เรียกว่า Be Direct and Keep it H.O.T หรือการให้ความรู้อย่างจริงใจเข้าใจง่าย เปิดกว้าง และโปร่งใส ตรงไปตรงมา 
 
ประเด็นที่สอง กิจกรรมการให้ความรู้ในด้านเส้นทางสายอาชีพประกันภัย ซึ่งนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่อาจจดจำภาพของอาชีพในธุรกิจประกันภัยจำกัดเฉพาะการขายประกันภัย หรือตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยากสร้างความเข้าใจในแง่มุมใหม่ ๆ คือ การสื่อสารเพื่อให้เห็นว่า ธุรกิจประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เป็นโอกาสสำหรับนิสิตนักศึกษา ทั้งในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น คณิตศาสตร์ประกันภัยและสถิติ ไปจนถึงสาขาวิชาอื่น ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยมีความต้องการ เช่น วิศวกรรมข้อมูล กฎหมาย การเงิน นิเทศศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ หรือการแพทย์ (เพื่อออกแบบกรมธรรม์) เป็นต้น ตลาดแรงงานในภาคการประกันภัยมีรูปแบบงาน รวมถึงมีความน่าสนใจและมีเสน่ห์ไม่ต่างจากภาคการเงิน ภาคพาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) อื่น ๆ เพราะธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่ปรับตัวและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินงาน ทั้งในด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ Internet of Things หรือ IoT และหากภาคการเงินมี FinTech ในภาคธุรกิจประกันภัยก็มี InsurTech และมีสนามทดลองหรือ sandbox ไม่แตกต่างกัน
 
ประเด็นที่สาม กิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการหรือ Workshop ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัษฎางค์  พลนอก ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสมือนจริง โดยการใช้เกมจำลองรูปแบบสถานการณ์ที่ระบบประกันภัยเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการความเสี่ยง
ทั้งในระดับบุคคลและระดับหน่วยธุรกิจ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนจากพฤติกรรมและการตัดสินใจ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในมหาวิทยาลัยและผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์สามารถร่วมกิจกรรมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Be Inclusive ที่มุ่งเน้นการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ทุกช่องทาง สามารถทดลองฝึกปฏิบัติจริงและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
 
ประเด็นที่สี่ การต่อยอดเพิ่มเติมจากการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาทั้ง 4 ครั้ง สำนักงาน คปภ. ได้จัดให้มีการประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบการประกันภัย โดยเปิดกว้างให้นิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบันสามารถ   ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในรูปแบบนวัตกรรมเชิงความคิดหรือ conceptual idea โดยจัดส่งเป็นคลิปผลงานความยาวไม่เกิน 2 นาที และสำนักงาน คปภ. ร่วมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดจำนวน 10 ผลงาน เพื่อให้มานำเสนอรายละเอียดในรอบชิงชนะเลิศหรือ final pitching ในเดือนพฤศจิกายน โดยมีเงินรางวัลสำหรับผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และรางวัลชมเชย รวมจำนวน 70,000 บาท พร้อมโล่รางวัล สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนอกจากจะได้รับเงินรางวัลและโล่รางวัลแล้วยังจะได้รับสิทธิพิเศษในการเยี่ยมชมห้องทำงานของเลขาธิการ คปภ. โดยเลขาธิการ คปภ. จะพาทัวร์ทั้งห้องทำงาน และสำนักงาน คปภ. ด้วยตนเอง พร้อมร่วมรับประทานอาหารเมนูสุดเอ็กซ์คลูซีฟจากเชฟธันวาซึ่งจะรังสรรค์เมนูโดยเฉพาะสำหรับมื้อพิเศษนี้
“การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ OIC Be Smart First Jobber ในครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. เชื่อว่าจะช่วยเข้าถึงกลุ่มนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่ม Gen Z และมีจำนวนมากถึง 1.4 ล้านคน โดยจะเป็นโมเดลต้นแบบของการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ดีไซน์โดยเฉพาะให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ เพื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยที่เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในทุก ๆ ช่วงเวลาของชีวิต ตลอดจนเข้าใจบทบาทภารกิจของสำนักงาน คปภ. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลระบบประกันภัยและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน พร้อมรองรับการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยอย่างเต็มรูปแบบในยุค Next Normal

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
01 ตุลาคม 2565

 

 

คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน  พร้อมรองรับการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยอย่างเต็มรูปแบบในยุค Next Normal 

 

 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการอันเกี่ยวกับกฎหมายด้านการประกันภัยที่มีการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งเพื่อให้อนุญาโตตุลาการและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสพบปะหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โดยมีอนุญาโตตุลาการ พนักงานสำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมสัมมนากว่า 107 คน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

 

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. ได้นำกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการมาใช้ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน ใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจากสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างประชาชน ผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการนี้ได้ถูกกำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ทั้งนี้จากสถิติการดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงเดือนสิงหาคม 2565) มีข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนงานการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการที่สำนักงาน คปภ. ดำเนินการ เป็นจำนวน 7,222 เรื่อง ยุติแล้ว 6,859 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ยุติ 8,533,390,959 บาท

 

จากการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมประกันภัย (InsurTech) เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และการบริหารจัดการอื่น เช่น การส่งมอบกรมธรรม์ e – Policy การใช้เทคโนโลยี Block chain ในการเก็บข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล (RegTech) โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลการประกันภัย  IBS (Insurance Bureau System) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของข้อมูลประกันภัยเพื่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและเพื่อยกระดับการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมประกันภัย เพิ่มศักยภาพของบริษัทประกันภัยในการแข่งขันในระดับสากลและเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลประกันภัยที่ถูกต้องอย่างเท่าเทียมกัน สำนักงาน คปภ. จึงได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ เช่น การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th การใช้ Line Application และอีเมล เป็นเครื่องมือในการนัดหมาย ส่งข้อความ ส่งคำร้อง ส่งบันทึกแบบคำพยานส่งพยานเอกสาร คำเสนอข้อพิพาท และคำคัดค้าน รวมทั้งการสั่งคำร้องต่าง ของอนุญาโตตุลาการควบคู่ไปกับการประสานงานผ่านช่องทางอื่น และที่สำคัญได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับการดำเนินงานในกระบวนการตั้งอนุญาโตตุลาการและการสืบพยานผ่านจอภาพหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ Video Conference,  Video Call, Chat Room, Microsoft Teams เป็นต้น ตามความตกลงหรือความประสงค์ของคู่พิพาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นไปได้ด้วยดี และได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่าย และมีแนวโน้มว่าจะมีข้อพิพาทที่คู่พิพาทประสงค์จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

 

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่าเพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้เปิดให้บริการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย (PPMS) โดยระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกระบวนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนตั้งแต่กระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยโดยผู้ชำนาญการ และการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยผู้เสนอข้อพิพาทสามารถยื่นคำเสนอข้อพิพาท การวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณา การส่งเอกสารต่าง การติดตามสถานะการดำเนินงานของแต่ละข้อพิพาท ผ่านระบบ PPMS ได้ ซึ่งระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสนอข้อพิพาทแล้ว ยังสามารถประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ที่ยื่นต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถนำข้อมูลต่าง มาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ก่อนนำไปแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อลดจำนวนเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทด้านประกันภัย

 นอกจากนี้ในการใช้งานระบบ PPMS ในระยะเริ่มแรก พบว่า ระบบดังกล่าวที่เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการยังไม่รองรับการให้บริการทางฝั่งบริษัทประกันภัย ซึ่งอยู่ในสถานะเป็นผู้คัดค้านในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดทำโครงการที่พัฒนาต่อยอดจากระบบ PPMS ที่มีอยู่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนงานระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ (E - Arbitration) ซึ่งจะรองรับการให้บริการอย่างครบวงจรทั้งในส่วนอนุญาโตตุลาการ บริษัทประกันภัย และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. เช่น การยื่นคำคัดค้าน การวางเงินเป็นหลักประกัน การติดตามสถานะคดี การส่งคำร้อง การยื่นเอกสารต่าง การสั่งคำร้องของอนุญาโตตุลาการ การนัดหมายแจ้งเตือนอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านระบบดังกล่าวได้ด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินการโครงการ E - Arbitration มีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยในขณะนี้ผู้พัฒนาระบบได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้เสนอข้อพิพาท ผู้คัดค้าน รวมทั้งอนุญาโตตุลาการ เข้าทดสอบการใช้งานและให้ข้อคิดเห็นต่อการใช้งานของระบบดังกล่าว โดยผู้พัฒนาระบบมีแผนงานที่จะส่งมอบระบบที่สมบูรณ์ได้ภายในปีนี้

 

ทั้งนี้ ผลการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ ทั้งในวันที่ 28 และวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้ข้อสรุปในแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ อันเป็นการพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย ให้เป็นที่ไว้วางใจและสร้างความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในประเด็นต่าง ดังนี้

 

          ประเด็นแรก เพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ที่ทำการอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) และภาค 9 (สงขลา) เพื่อให้คู่พิพาทมีทางเลือกในการตั้งอนุญาโตตุลาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้คู่พิพาทใช้ระบบประชุมทางจอภาพ (Video Conference) ตลอดจนการนำเทคโนโลยีต่าง มาใช้ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายของคู่พิพาท 

 

          ประเด็นที่ 2 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานในกระบวนการระงับข้อพิพาท ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นไปด้วยความรอบคอบ มีมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   

 

          ประเด็นที่ 3 สนับสนุนและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฎหมายด้านการประกันภัย เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้อง บทคัดย่อ และแนวทางการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่ผ่านมา รวมทั้งความเป็นไปได้ในการตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลต่าง เพื่อประกอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและแนวทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น  

 

          ประเด็นที่ 4 ประสานงานกับกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณากรณีผู้คัดค้านเป็นบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย สามารถดำเนินการกระบวนการพิจารณาต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และเกิดความเป็นธรรม  

 

          นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้จัดให้มีการบรรยายและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่อนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วยเงื่อนไขกรมธรรมประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่และเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การยื่นข้อพิพาทต่อสำนักงาน คปภ. เช่น เงื่อนไขความคุ้มครอง กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมถึงกรณีทุพพลภาพอย่างถาวรและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง การชดใช้ดอกเบี้ยผิดนัด ตลอดจนข้อยกเว้นความคุ้มครองต่าง เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่ออนุญาตโตตุลาการในการนำไปประกอบการพิจารณาและจัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาด  

 

 การจัดสัมมนาประจำปีอนุญาโตตุลาการในครั้งนี้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้รับทราบปัญหา และมีการบูรณาการความคิดในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสำนักงาน คปภ. เดินมาถูกทางในการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคู่พิพาท อนุญาโตตุลาการ และสำนักงาน คปภ. อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย ตลอดทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการประชาชนต่อไปในอนาคตเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน  พร้อมรองรับการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยอย่างเต็มรูปแบบในยุค Next Normal 

 

 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการอันเกี่ยวกับกฎหมายด้านการประกันภัยที่มีการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งเพื่อให้อนุญาโตตุลาการและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสพบปะหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โดยมีอนุญาโตตุลาการ พนักงานสำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมสัมมนากว่า 107 คน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

 

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. ได้นำกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการมาใช้ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน ใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจากสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างประชาชน ผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการนี้ได้ถูกกำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ทั้งนี้จากสถิติการดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงเดือนสิงหาคม 2565) มีข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนงานการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการที่สำนักงาน คปภ. ดำเนินการ เป็นจำนวน 7,222 เรื่อง ยุติแล้ว 6,859 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ยุติ 8,533,390,959 บาท

 

จากการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมประกันภัย (InsurTech) เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และการบริหารจัดการอื่น เช่น การส่งมอบกรมธรรม์ e – Policy การใช้เทคโนโลยี Block chain ในการเก็บข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล (RegTech) โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลการประกันภัย  IBS (Insurance Bureau System) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของข้อมูลประกันภัยเพื่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและเพื่อยกระดับการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมประกันภัย เพิ่มศักยภาพของบริษัทประกันภัยในการแข่งขันในระดับสากลและเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลประกันภัยที่ถูกต้องอย่างเท่าเทียมกัน สำนักงาน คปภ. จึงได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ เช่น การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th การใช้ Line Application และอีเมล เป็นเครื่องมือในการนัดหมาย ส่งข้อความ ส่งคำร้อง ส่งบันทึกแบบคำพยานส่งพยานเอกสาร คำเสนอข้อพิพาท และคำคัดค้าน รวมทั้งการสั่งคำร้องต่าง ของอนุญาโตตุลาการควบคู่ไปกับการประสานงานผ่านช่องทางอื่น และที่สำคัญได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับการดำเนินงานในกระบวนการตั้งอนุญาโตตุลาการและการสืบพยานผ่านจอภาพหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ Video Conference,  Video Call, Chat Room, Microsoft Teams เป็นต้น ตามความตกลงหรือความประสงค์ของคู่พิพาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นไปได้ด้วยดี และได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่าย และมีแนวโน้มว่าจะมีข้อพิพาทที่คู่พิพาทประสงค์จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

 

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่าเพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้เปิดให้บริการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย (PPMS) โดยระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกระบวนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนตั้งแต่กระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยโดยผู้ชำนาญการ และการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยผู้เสนอข้อพิพาทสามารถยื่นคำเสนอข้อพิพาท การวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณา การส่งเอกสารต่าง การติดตามสถานะการดำเนินงานของแต่ละข้อพิพาท ผ่านระบบ PPMS ได้ ซึ่งระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสนอข้อพิพาทแล้ว ยังสามารถประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ที่ยื่นต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถนำข้อมูลต่าง มาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ก่อนนำไปแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อลดจำนวนเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทด้านประกันภัย

 นอกจากนี้ในการใช้งานระบบ PPMS ในระยะเริ่มแรก พบว่า ระบบดังกล่าวที่เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการยังไม่รองรับการให้บริการทางฝั่งบริษัทประกันภัย ซึ่งอยู่ในสถานะเป็นผู้คัดค้านในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดทำโครงการที่พัฒนาต่อยอดจากระบบ PPMS ที่มีอยู่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนงานระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ (E - Arbitration) ซึ่งจะรองรับการให้บริการอย่างครบวงจรทั้งในส่วนอนุญาโตตุลาการ บริษัทประกันภัย และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. เช่น การยื่นคำคัดค้าน การวางเงินเป็นหลักประกัน การติดตามสถานะคดี การส่งคำร้อง การยื่นเอกสารต่าง การสั่งคำร้องของอนุญาโตตุลาการ การนัดหมายแจ้งเตือนอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านระบบดังกล่าวได้ด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินการโครงการ E - Arbitration มีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยในขณะนี้ผู้พัฒนาระบบได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้เสนอข้อพิพาท ผู้คัดค้าน รวมทั้งอนุญาโตตุลาการ เข้าทดสอบการใช้งานและให้ข้อคิดเห็นต่อการใช้งานของระบบดังกล่าว โดยผู้พัฒนาระบบมีแผนงานที่จะส่งมอบระบบที่สมบูรณ์ได้ภายในปีนี้

 

ทั้งนี้ ผลการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ ทั้งในวันที่ 28 และวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้ข้อสรุปในแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ อันเป็นการพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย ให้เป็นที่ไว้วางใจและสร้างความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในประเด็นต่าง ดังนี้

 

          ประเด็นแรก เพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ที่ทำการอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) และภาค 9 (สงขลา) เพื่อให้คู่พิพาทมีทางเลือกในการตั้งอนุญาโตตุลาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้คู่พิพาทใช้ระบบประชุมทางจอภาพ (Video Conference) ตลอดจนการนำเทคโนโลยีต่าง มาใช้ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายของคู่พิพาท 

 

          ประเด็นที่ 2 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานในกระบวนการระงับข้อพิพาท ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นไปด้วยความรอบคอบ มีมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   

 

          ประเด็นที่ 3 สนับสนุนและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฎหมายด้านการประกันภัย เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้อง บทคัดย่อ และแนวทางการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่ผ่านมา รวมทั้งความเป็นไปได้ในการตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลต่าง เพื่อประกอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและแนวทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น  

 

          ประเด็นที่ 4 ประสานงานกับกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณากรณีผู้คัดค้านเป็นบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย สามารถดำเนินการกระบวนการพิจารณาต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และเกิดความเป็นธรรม  

 

          นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้จัดให้มีการบรรยายและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่อนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วยเงื่อนไขกรมธรรมประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่และเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การยื่นข้อพิพาทต่อสำนักงาน คปภ. เช่น เงื่อนไขความคุ้มครอง กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมถึงกรณีทุพพลภาพอย่างถาวรและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง การชดใช้ดอกเบี้ยผิดนัด ตลอดจนข้อยกเว้นความคุ้มครองต่าง เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่ออนุญาตโตตุลาการในการนำไปประกอบการพิจารณาและจัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาด  

 

 การจัดสัมมนาประจำปีอนุญาโตตุลาการในครั้งนี้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้รับทราบปัญหา และมีการบูรณาการความคิดในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสำนักงาน คปภ. เดินมาถูกทางในการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคู่พิพาท อนุญาโตตุลาการ และสำนักงาน คปภ. อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย ตลอดทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการประชาชนต่อไปในอนาคตเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

หมวดหมู่ข่าว: 

เลขาธิการ คปภ. ประเดิมเปิดโครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่องที่จังหวัดระยองเพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
29 กันยายน 2565

เลขาธิการ คปภ. ประเดิมเปิดโครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่องที่จังหวัดระยองเพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน เร่งเดินสายลงพื้นที่ปลุกพลังนักบิดมอเตอร์ไซด์ทำประกันภัย พ.ร.บ.

ตามที่ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่องเพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน ไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ ดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่องที่จังหวัดระยองเพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืนในกิจกรรม “คปภ. ปลุกพลังนักบิด เปิดโลกใหม่ให้คุ้มครองด้วยประกันภัย พ.ร.บ.” โดยมี นางสาวประภาศรี พิษณุพงควิชชา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระยอง กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายฉกาจ พัฒนศรี ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดระยอง หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ศูนย์การค้าแพชชั่น ช้อปปิ้งแดสติเนชั่น จังหวัดระยอง

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ภายหลังจากการจัดกิจกรรมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ ที่กรุงเทพมหานครแล้ว สำนักงาน คปภ. ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักให้กับประชาชนผู้ใช้รถสร้างการเข้าถึงประกันภัย พ.ร.บ. และการมีส่วนร่วมในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งการจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นว่า จังหวัดระยอง เป็นเมืองที่สำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว มีประชากรมากกว่า 750,000 คน และเป็นจังหวัดที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และมีโรงงานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายที่มีการใช้ยานพาหนะประเภทรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก และจากข้อมูลการจดทะเบียนรถของจังหวัดระยอง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 พบว่ามีรถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนสะสมจำนวน 448,180 คัน ซึ่งเป็นรถที่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. เพียง 289,064 คัน หรือประมาณร้อยละ 64.50 ของรถที่จดทะเบียนทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นสำนักงาน คปภ. จึงเห็นว่าจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมเป็นพื้นที่นำร่องในการรณรงค์เชิงรุกตามโครงการนี้

โดยในปีนี้เน้นไปที่การรวมพลังกลุ่มเป้าหมายในนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนโดยรอบเนื่องจากเป็นผู้ใช้รถจักรยายนต์เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำประกันภัย พ.ร.บ. และส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. ผ่านการจัดกิจกรรม Roadshow ผสมผสานกับกิจกรรมรณรงค์ (Campaign) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนำร่อง 3 พื้นที่ โดยจังหวัดระยอง ถือเป็นการประเดิมแห่งแรกในการจัดกิจกรรม
ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงการทำประกันภัย พ.ร.บ และให้ทราบถึงการขับเคลื่อนด้านประกันภัย พ.ร.บ. ในหลากหลายมิติของสำนักงาน คปภ. ไม่ว่าจะเป็นการปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองตามประกันภัย พ.ร.บ. โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 โดยปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ในกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากเดิม 300,000 บาท โดยจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท หรือกรณีได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท รวมทั้งได้มีการขยายช่องทางการจำหน่ายประกันภัย พ.ร.บ. ให้ประชาชนสามารถซื้อหรือต่อประกันภัย พ.ร.บ. ที่สะดวกยิ่งขึ้น อาทิ ช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-11 นอกเหนือจากการซื้อผ่านตัวแทน หรือนายหน้าประกันภัย และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถจักรยานยนต์ ที่มีระยะเวลาความคุ้มครองระยะยาว 3 – 5 ปี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และเป็นการเพิ่มทางเลือก รวมถึงให้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัย กรณีซื้อประกันภัย พ.ร.บ. ระยะยาวเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีการทำประกันภัย พ.ร.บ. ระยะยาวสำหรับรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นประเภทรถ
ที่มีการใช้งานเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ตลอดจนช่วยลดจำนวนการขาดต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ตลอดจน การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศในการตรวจสอบการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ ก่อนชำระภาษีรถยนต์ประจำปี เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ให้กับประชาชนที่มาใช้บริการต่อภาษีรถมากขึ้น
ในส่วนของการดูแลผู้ประสบภัยจากรถนั้น สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่ปฏิบัติงานภายใต้สำนักงาน คปภ. ทุกจังหวัดทั่วประเทศได้ให้การคุ้มครองดูแลผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาผ่านการจ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ในกรณีรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. หรือในกรณีที่มีประกันภัย พ.ร.บ. แต่ไม่อาจเรียกร้องสิทธิจากที่ใดได้ สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะเข้ามาช่วยเหลือดูแล และลดภาระทางด้านการเงินแก่ผู้ประสบภัยจากรถ โดยวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น แบ่งออกเป็น กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท หรือกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจะได้รับเงินชดเชย จำนวน 35,000 บาท และหากกรณีได้รับบาดเจ็บและต่อมาสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชยรวมกันสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท

ทั้งนี้ เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากรถแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งของกองทุนฯ ที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การไล่เบี้ยเรียกคืนค่าเสียหายเบื้องต้นพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนที่ไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ. นอกจากนี้ เจ้าของรถที่ฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. จะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และนอกเหนือจากเจ้าของรถแล้ว หากผู้ใดนำรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. ไปใช้ จะมีโทษปรับสูงสุดอีก 10,000 บาทด้วย และในกรณีที่เป็นเจ้าของรถที่ไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ. และนำรถคันดังกล่าวไปใช้จะมีความผิด 2 กระทง คือ มีโทษปรับสูงสุดถึง 20,000 บาท
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับพื้นที่ต่อไปที่จะมีการจัดกิจกรรม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดจัดงานในวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2565 และนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ในวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565
“หากรถทุกประเภทได้จัดให้มีการทำประกันภัย พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับความคุ้มครองที่สูงกว่าผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ. และยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถ มาทำประกันภัย พ.ร.บ. และหมั่นตรวจสอบประกันภัย พ.ร.บ. ของท่านไม่ให้ขาดอายุ ซึ่งมีช่องทางการหาซื้อที่สะดวก และค่าเบี้ยประกันภัยไม่แพง ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลด้านประกันภัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Add Line Official @oicconnect” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย”

หมวดหมู่ข่าว: 

คำสั่งนายทะเบียนที่ 32/2565 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย

คำสั่งนายทะเบียนที่ 31/2565 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันชีวิต

คปภ. ผงาดในเวทีภูมิภาคเอเชีย เข้าร่วมประชุมพร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชีย (AFIR) ครั้งที่ 17

< >
วันที่เผยแพร่: 
27 กันยายน 2565

คปภ. ผงาดในเวทีภูมิภาคเอเชีย เข้าร่วมประชุมพร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชีย (AFIR) ครั้งที่ 17 การประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 6 และการประชุมผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5 ประจำปี 2565 ณ สาธารณรัฐมัลดีฟส์

 
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) และคณะผู้บริหารระดับสูง สำนักงาน คปภ. เข้าร่วมการประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชียครั้งที่ 17 (AFIR 17th Annual Conference: AMC) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การประชุมสามัญประจำปี AFIR ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 (6th General Meeting of Members) และการประชุมผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5 (5th Asia-Pacific High-Level Meeting on Insurance Supervision : HLM) ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 5 – 7 กันยายน 2565 ณ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ภายใต้ธีม “Strengthening Resilience to Insurance Supervision for Evolving and Emerging Risks”
 
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า การประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชียและการประชุมที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้กลับมาจัดการประชุมในลักษณะ In-Person เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 โดยมีหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐมัลดีฟส์เป็นเจ้าภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วยหัวหน้าหรือผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน และ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) และ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank of International Settlements : BIS) เป็นต้น รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในเอเชีย หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างกันในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์การกำกับดูแลภาคธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแบบองค์รวม 
โดยการประชุมฯ แบ่งออกเป็น 3 การประชุมย่อย ประกอบด้วย การประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชีย ครั้งที่ 17 ในวันที่ 5 -6 กันยายน 2565 ซึ่งมีวาระการประชุมฯ ที่สำคัญประกอบด้วยหัวข้อ “ความสัมพันธ์และส่งเสริมทางธุรกิจของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และจุดบอดเชิงนโยบายที่พึงระวัง” โดยรวบรวมข้อมูลของบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั่วโลกเพื่อศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนความเสี่ยงและแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์จากพัฒนาการทางเทคโนโลยีในภาคธุรกิจประกันภัย รวมถึงจุดโหว่เชิงนโยบายที่ผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยพึงระวัง โดยบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่มักมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกัน มีการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีทั้งกลุ่มผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการหรือเจ้าของสินค้าและบริการ ธนาคารหรือผู้ให้บริการ e-Payment รวมไปถึงบริษัท IT ที่มีส่วนร่วมในการสร้างแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งรูปแบบธุรกิจนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์และส่งเสริมกัน (Interdependencies) ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้น โดยเฉพาะในด้านการกำกับดูแลด้านการเงิน เนื่องจาการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นภายใน Ecosystem เดียวกันอาจทำให้ขาดความโปร่งใส และทำให้หน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ไม่สามารถประเมินรูปแบบและระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
 
ซึ่งในประเด็นข้างต้นเลขาธิการ คปภ. ได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นปัญหาดังกล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแล
ควรมีการบูรณาการความร่วมมือกันในทั้งรูปแบบ Cross-Sectoral และ Cross-Border โดยควรมีบทบาทหน้าที่
ในการเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม (Facilitator) และในเชิง principle-based แทนที่จะพยายามกำกับดูแลแบบ rule-based อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะทำได้ยาก เนื่องจากการพัฒนาและการบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถตามทันพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดได้ 
นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. โดย ดร.ชญานิน เกิดผลงาม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ ได้นำเสนอประเด็น “การรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ผ่านโครงการจัดทำกรอบการประเมินระดับความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับบริษัทประกันภัย (Cyber Resilience Assessment Framework : CRAF)” ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่สำนักงาน คปภ. จัดทำขึ้นเพื่อยกระดับการดำเนินการเรื่อง Cybersecurity ของภาคธุรกิจประกันภัยและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้มีความรัดกุมและแข็งแกร่งมากขึ้นโดยพิจารณาจากพื้นฐานสำคัญ คือ การที่บริษัทเข้าใจและรับรู้ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจและการใช้งานเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้าน IT Risk และ Cyber Risk ได้อย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงและมีประสิทธิภาพ  โดยสำนักงาน คปภ. มี โครงการ CRAF ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดมาตรฐานทั้งในด้านการประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ สำหรับธุรกิจประกันภัย รวมทั้งบริษัทสามารถนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงของตนเองที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ และการใช้งานเทคโนโลยี (Cyber Inherent Risk) และประเมินความเพียงพอของระดับแนวทางในการบริหารจัดการและการควบคุม (Control Maturity Level) เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและการควบคุมให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเสี่ยง 
 
ทั้งนี้ประเทศไทย เป็นประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่มีการจัดทำมาตรฐานในด้านการประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ที่ประชุมจึงให้ความสนใจในโครงการ CRAF เป็นอย่างมาก 
 
ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้หารือที่ประชุมถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอดและขยายผลความร่วมมือจากโครงการฯ ในระดับภูมิภาค หรือ Regional Platform เพี่อแลกเปลี่ยนข้อมูล Incidents ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อันจะทำให้การวางแผนรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้อภิปรายกันในประเด็นเกี่ยวกับ การดำเนินการด้านต่าง ๆ ของสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (IAIS) ซึ่งมีการนำเสนอโดย Ms. Manuela Zweimueller, Head of Implementation (IAIS) ตลอดจนประเด็นเรื่องการศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงในสาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดย Mr. Faraz Amjad, Natural Capital Risk & Resilience Lead, United Nations Development Programme (UNDP) และข้อแนะนำของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ โดย Mr. Yoshihiro Kawai, Chair, OECD, Insurance and Private Pensions Committee และภาพรวมและโอกาสในการมีส่วนร่วมใน Global Asia Insurance Partnership (GAIP) โดย Mr. Conor Donaldson, Chief Executive Officer, GAIP ซึ่งเลขาธิการ คปภ. ได้ให้แสดงข้อคิดเห็นว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็น Affiliated Partner ตั้งแต่ปี 2563 ในขณะที่ ยังมีอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ยังมิได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือดังกล่าว 
ซึ่งการเข้ามามีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดการพัฒนา และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นในการเสริมสร้างความสามารถ
ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีนัยยะต่อระบบประกันภัยของภูมิภาคเอเชีย จึงเสนอให้มีการจัดทำแบบสอบถาม
ความสนใจ เพื่อให้แต่ละประเทศได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยากให้มีการเพิ่มเติมเข้ามาใน GAIP เช่น การให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนในการประกันภัย และการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล เป็นต้น                                                           
 
สำหรับการประชุมสามัญประจำปี AFIR ครั้งที่ 6 ในวันที่ 6 กันยายน 2565 มีวาระการประชุมฯ ที่สำคัญประกอบด้วยการให้ความเห็นชอบแนวทางการคัดเลือกประธาน AFIR โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ Mr. Clemeng Cheung CEO ของหน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยของฮ่องกง ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน AFIR ต่อเนื่องจนถึงปี 2566 และเห็นชอบแนวทางการจัดตั้ง Contingency Committee สำหรับการคัดเลือกประธาน AFIR รวมถึงการกำหนดแผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงานสมาชิก AFIR และการหารือเรื่องเจ้าภาพการจัดการประชุมประจำปี AFIR และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ประจำปี 2566 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประเทศมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมฯ ในปีถัดไป
 
ในส่วนการประชุมผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5ในวันที่ 7 กันยายน 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของ AFIR FSI BIS และ IAIS มีการเสวนาในหัวข้อที่น่าสนใจหลายหัวข้อ อาทิ การเสวนาในหัวข้อ “ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัย” โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในประเทศยูเครน และประเด็นความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเงินโลก ราคาพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอาหารที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางทั่วโลกมีการยกระดับมาตรการต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อภาคประกันภัยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งในด้านผลตอบแทนการลงทุน ไปจนถึงการประเมินมูลค่าหนี้สิน ซึ่งการเสวนาฯ มุ่งเน้นการค้นหาความเชื่อมโยงของเครือข่ายความเสี่ยง รวมถึงผลกระทบต่อประชาชนผู้เอาประกันภัย โดยเลขาธิการ คปภ. ได้เสนอให้ต้องบริหารความเสี่ยงในเรื่อง cyber attack ด้วย เพราะปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีอย่างมาก และการเกิดความขัดแย้งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในภูมิภาคใด ๆ ในโลก ก็ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องนี้ได้
 
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ประกันภัยสีเขียวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป” โดยได้กล่าวถึงการที่หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยจากทั่วโลกมีการยกระดับกรอบการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงต่อระบบการเงินอันเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ตลอดจนปัจจุบันยังไม่มีแนวปฏิบัติสากล ดังนั้น ผู้เข้าร่วมเสวนาฯ จึงมีการหารือถึงทิศทางการดำเนินการเพื่อรับมือต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงผลกระทบต่อภาคประกันภัยทั้งบริษัทและหน่วยงานกำกับดูแล นอกจากนั้นยังจะมีการแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องแนวทางในการผนวกความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเข้ากับกรอบการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ซึ่งรวมถึงการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ                                                            
 
ส่วนการเสวนาในหัวข้อ “การอำนวยความสะดวกในการปรับตัวสู่ net-zero” ได้กล่าวถึงเรื่องที่บริษัทประกันภัยมีการเร่งปรับตัวสู่การเป็น net-zero ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การปรับทางเลือกในการลงทุนของบริษัทจนถึงการปรับแนวทางในการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งจะส่งกระทบต่อ risk profile ของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในประเด็นดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการเสวนาฯ ได้ร่วมกันอภิปรายถึงความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานะความมั่นคงของบริษัทในขณะอยู่ระหว่างการดำเนินแผนการปรับตัวสู่การเป็น net-zero ซึ่งรวมถึงแนวทางการกำกับดูแลแผนการปรับตัวดังกล่าวและการระบุความเสี่ยงอุบัติใหม่ นอกจากมุมมองด้านความเสี่ยง ผู้เข้าร่วมการเสวนาฯ ยังได้ร่วมกันพิจารณาถึงบทบาทของผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในการให้ความสนับสนุนการปรับตัวสู่การเป็น net-zero ที่อาจรวมถึงการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง             
“การประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชียในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีประเด็นร่วมสมัยหลายประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศไทยมีโอกาสแสดงศักยภาพในเรื่องการพัฒนาเครื่องมือ CRAF การทดสอบความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำของหน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนได้หารือกับ นาย Jonathan Dixon เลขาธิการ IAIS ถึงความเป็นไปได้ที่สำนักงาน คปภ. ของไทยจะเข้าไปมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ ที่สามารถจะนำไปต่อยอดเพื่อผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียน (ASEAN Insurance Regulators’ Meeting: AIRM) ในเดือนธันวาคม 2565 ที่ประเทศไทย โดยสำนักงาน คปภ. จะเป็นประธานและเป็นเจ้าภาพในการประชุม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
....................................................................................
หมวดหมู่ข่าว: 

ประกาศนายทะเบียนเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2565

< >
วันที่เผยแพร่: 
22 กันยายน 2565
ไฟล์ต่างๆ: 
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ผนึกกำลังครั้งใหญ่เตรียมเปิด...! มหกรรมเทคโนโลยีประกันภัยแห่งปี “Thailand InsurTech Fair 2022”

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
22 กันยายน 2565

 

 

คปภ. ผนึกกำลังครั้งใหญ่เตรียมเปิด...! มหกรรมเทคโนโลยีประกันภัยแห่งปี “Thailand InsurTech Fair 2022”  มาก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัยด้วยกัน พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย มางานเดียว ทั้งคุ้ม ทั้งครบ จบเรื่องประกันภัย ระหว่าง 7-9 ตุลาคม 2565 อิมแพคเมืองทองธานี ฮอลล์ 6 จังหวัดนนทบุรี

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมประกันภัยมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยรวมทั้ง เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในครอบครัว การประกอบธุรกิจการค้า การลงทุนและการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน สำนักงาน คปภ. โดยศูนย์ Center of InsurTech Thailand (CIT) จึงได้ร่วมกับ สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน จัดงานมหกรรมการประกันภัย” Thailand InsurTech Fair 2022 (TIF 2022) สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ภายใต้ concept “ก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย เพื่อโลกใหม่ไร้ขีดจำกัด” Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Future ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565 อิมแพคเมืองทองธานี ฮอลล์ 6 ซึ่งเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทย และบุคลากรผู้คร่ำหวอดในวงการประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนพันธมิตรประกันภัยจากทั่วทุกมุมโลกที่จะมาสร้างเครือข่ายร่วมกัน

 

ด้าน นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า งานนี้ Thailand InsurTech Fair 2022 ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศไทยแล้ว เรียกว่างานนี้เป็นศูนย์รวมของภาคธุรกิจประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันวินาศภัย โบรกเกอร์ รวมถึงทางด้านของผู้กำกับดูแลก็คือสำนักงาน คปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมประกันชีวิตไทย และอีกหลาย หน่วยงาน ผมอยากจะเชิญชวนว่าในงานนี้ท่านจะได้เข้าถึงเรื่องของผลิตภัณฑ์ทางด้านของการประกันชีวิตเรื่องของการดูแลทางด้านของประกันสุขภาพ เชิญชวนให้ไปร่วมงานโดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 9 ตุลาคมนี้ ที่ฮอลล์ 6 อิมแพคเมืองทองธานี อย่าพลาดนะครับ ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน เราสามารถที่จะไปร่วมงานแบบชนิดที่ว่าเจอตัวต่อตัวได้ หรือจะผ่านทางด้านแพลตฟอร์ม หรือในรูปแบบ Hybrid ได้ด้วยทาง www.tif2022.com อย่าพลาด ขอให้มาในงานนี้

 

ด้าน นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า งานปีนี้มีบริษัทประกันภัยหลายแห่งเข้าร่วมงานแล้วก็มีเทคโนโลยีใหม่ มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ที่จะมาโชว์ในงาน โดยเฉพาะส่วนลดที่ประชาชนทั้งหลายรอคอยว่าบริษัทจะสามารถให้ส่วนลดกับประชาชนที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยในงานได้สูงสุดถึง 30% และสำหรับการซื้อออนไลน์ได้ถึง 35% โดยปีนี้ก็เป็นปีที่พิเศษก็จัดงานแบบ Hybrid ทั้ง Onsite และ Online สำหรับประชาชนที่สนใจและมีเวลาก็อยากให้มาเยี่ยมชมในวันที่ 7 -9 ตุลาคมนี้ ที่ฮอลล์ 6 อิมแพคเมืองทองธานี ประชาชนที่มาในงานจะได้รับประโยชน์เต็มที่ ส่วนท่านที่ไม่มีเวลา สามารถเข้าเยี่ยมชมงาน หรือว่าซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ได้โดยเข้าไปที่ www.tif2022.com ไม่อยากให้ท่านพลาดในงานนี้ เพราะว่าปีหนึ่งมีครั้งเดียวแล้วคราวนี้การจัดงานห่างหายไปสองปีจากสถานการณ์โควิด มาเยี่ยมชมกันครับ

 

ด้าน นายจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย กล่าวว่า ภายในงานจะมีการโชว์เทคโนโลยี การนำแพลตฟอร์มให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความเสี่ยงของลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ความตรงต้องการของลูกค้า ให้ส่วนลดอย่างเต็มที่ รวมไปถึงนายหน้าต่างชาติจะนำเอานวัตกรรมใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในต่างประเทศมาจัดแสดง เรื่องของ Parametric เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การดูเรื่องภัยพิบัติ M&A จะนำมาจัดแสดงภายในงาน เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เร็ว นี้ บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต นายหน้า หรือทุกคนก็ควรมา เพราะถือว่าเป็นงานประกันภัยแห่งปี ทุกคนอยากมาแสดงร่วมโชว์ผลงาน โดยทำส่วนลด แลก แจก แถม ที่สำคัญมีการจับฉลาก รถยนต์เป็นรางวัลใหญ่ โดยประชาชนที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยในงานนี้ก็จะได้มีโอกาสได้รับรถยนต์หรือมีของรางวัลอีกมากมาย อยากให้ทุกคนไปร่วมงานเพราะว่าได้ของดีที่เตรียมไว้แล้ว หรือหากใครมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของประกันภัย หรือประกันชีวิต สามารถเข้าไปปรึกษาในงานได้ด้วย อยากจะปรึกษาอะไรเกี่ยวกับเรื่องของประกันภัยเข้าไปได้ หรือการหาพาร์ทเนอร์ชิพ ระหว่างธุรกิจเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทัศนคติและก็ไปคุยกันในงานนี้ได้เช่นกัน ขอเชิญชวนพลาดไม่ได้งานนี้วันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2565 ที่อิมแพคเมืองทองธานี ฮอลล์ 6 หรือเข้าไปเช็คข้อมูลที่ www.tif2022.com 

 

ด้าน นายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน กล่าวว่า งานปีนี้จะมีการนำที่ปรึกษาด้านการเงินมานั่งที่บูธจัดแสดงภายในงาน โดยเป็นการเชิญชวนลูกค้ามานั่งปรึกษาการเงิน โดยอย่างน้อย ท่านจะได้ทราบอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งการเข้าใจในเรื่องอัตราส่วนจะสามารถทำประโยชน์ได้โดยใช้เงินในการสร้างผลตอบแทน ซึ่งในงานเราจัดบูธพร้อมมีที่ปรึกษาทางการเงินมีประจำอยู่ที่บูธ ในฝั่งตัวแทนประกันชีวิตที่มาร่วมงาน จะได้ประโยชน์คือ หลักสูตรที่ปรึกษาทางด้านการเงินซึ่งเป็นหลักสูตรลิขสิทธิ์จากทางสิงคโปร์ โดยพัฒนาจากการเป็นตัวแทนเข้าสู่การเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก และพร้อมปรับเปลี่ยนให้เท่าทันสถานการณ์โลก การเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินจะตอบโจทย์ให้ตรงกับลูกค้ามากที่สุด และมารับความรู้ด้านการประกันภัยจากวิทยากรชั้นนำ โดยเฉพาะตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเกี่ยวความรู้และที่สำคัญท่านจะได้ตื่นตาตื่นใจกับว่าเทคโนโลยีด้านการประกันภัยที่ทันสมัย ผมเชิญชวนสำหรับประชาชนทั่วไปมาร่วมงานประกันภัยที่สำคัญแห่งปี สามารถมาซื้อผลิตภัณฑ์ในงานนี้แล้วมีโอกาสได้รับรถยนต์ไฟฟ้าที่หาซื้อไม่ได้เพราะว่าไม่มีในท้องตลาด แต่ผู้จัดงานสามารถจัดหามาได้ สนุกสนานกับทางของรางวัลเตรียมไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะที่บูธของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินของเรามีที่ปรึกษาทางด้านการเงินรอต้อนรับทุกท่านอยู่ครับ

 

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า งานมหกรรมการประกันภัย” Thailand InsurTech Fair 2022 หรือ TIF 2022 ปีนี้มีไฮไลท์ที่น่าสนใจ 10 ไฮไลท์ด้วยกัน คือ 

 

ไฮไลท์แรก การนำเสนอนวัตกรรมประกันภัยต่าง จากบูธบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัย InsurTech and Startups Firms และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนมากกว่า 70 หน่วยงาน 

 

ไฮไลท์ที่ 2 การลงทะเบียนในรูปแบบของการสร้าง Avatar ที่จะช่วยค้นหาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ในแต่ละวัย และตรงตามความต้องการของแต่ละช่วงวัยมากที่สุด ค้นหาและซื้อประกันภัยที่เหมาะสม ในราคาลดกระหน่ำที่สุดแห่งปี และตรงกับ Lifestyle ของผู้เข้าร่วมงานอย่างแท้จริง

 

ไฮไลท์ที่ 3 การสัมมนาทางวิชาการด้านการประกันภัย ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรชั้นนำระดับโลกทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ 4 Pillar หลักประกอบด้วย 

 

Pillar 1 Creating Digital Ecosystem for Insurance Industry ว่าด้วยบทบาท และมุมมองของ Regulator ในการ Facilitate Digital Ecosystem ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจประกันภัยอย่างยั่งยืน โดยเปิดฉากกิจกรรมทางวิชาการด้วยการบรรยายพิเศษ โดย ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. 

 

Pillar 2 Mastering Technologies and Capitalizing on Mega Trends เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้นำในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากโอกาสและเทรนด์ใหม่ 

 

Pillar 3 Improving Endlessly Using InsurTech เปิดโลกสู่เทคโนโลยีประกันภัยเพื่อพลิกโฉมวงการประกันภัย พร้อมเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัด 

 

Pillar 4 Revolutionizing the New Intermediaries การปรับตัวของคนกลางประกันภัย และการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงและให้บริการลูกค้าในยุคดิจิทัล 

 

ไฮไลท์ที่ 4 การนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ แบบใหม่โดนใจนักช็อปความคุ้มครองให้กับตัวเองและครอบครัว ด้วยโปรโมชั่นลดเบี้ยประกันภัยแบบกระหน่ำสูงสุด 30% 

 

ไฮไลท์ที่ 5 การจัดประกวดนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการประกันภัย “OIC InsurTech Award 2022” เพื่อเฟ้นหาสุดยอด InsurTech ของประเทศไทยที่เสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านประกันภัยที่เป็นเลิศ ซึ่งขณะนี้มีทีมที่ให้ความสนใจสมัครร่วมประกวดเป็นจำนวนมากกว่า 167 ทีม โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป โดยมี 10 รางวัล รวมเงินรางวัล 500,000 บาท พร้อมโล่ สำหรับรางวัลประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา มี 5 รางวัลดังนี้ (รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 70,000 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลละ 15,000 บาท) และประเภทบุคคลทั่วไป มี 5 รางวัล ดังนี้ (รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 70,000 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลละ 15,000 บาท) ซึ่งจะมีการคัดเลือกกันอย่างเข้มข้นถึง 3 รอบ และไปคัดเลือกรอบสุดท้ายในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ที่บูธของสำนักงาน คปภ. ในงาน “Thailand InsurTech Fair 2022”

 

ไฮไลท์ที่ 6 การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ต่อยอด และจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้บริหารจากบริษัทประกันภัย บริษัทเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ไฮไลท์ 7 InsurVerse Zone พื้นที่แสดงศักยภาพของบรรดา InsurTech & Tech Startup Firms จากหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก ที่จะมาอวดโฉมนวัตกรรมทาง InsurTech เพื่ออนาคตการประกันภัยยุคใหม่ไร้ขีดจำกัด เพื่อร่วมกันเปิดโลกจักรวาลความรู้เทคโนโลยีประกันภัย

 

ไฮไลท์ที่ 8 ขายผลิตภัณฑ์ออนไลน์ Mini shopping และกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง เช่น กิจกรรมให้ความรู้ Interactive wall, Interactive floor ในระบบ Touchless Sensor ให้ผู้ร่วมงานได้เล่นสนุกเพลิดเพลินกับเกมส์ประกันภัย โดยกิจกรรมเหล่านี้สามารถสะสมเพื่อแลกรับของรางวัลต่าง ของที่ระลึกหรือ eVoucher จากร้านค้าชั้นนำได้ และ Photobooth ที่ผู้เข้าร่วมงานสามารถถ่ายรูปคู่กับตัว Avartar ของตนเองเพื่อ share ใน Social Media ได้อีกด้วย

 

ไฮไลท์ที่ 9 ตื่นตาตื่นใจไปกับความบันเทิงจากศิลปิน ดารามากมาย ที่ร่วมสร้างสีสันจากทั่วฟ้าเมืองไทย

 

ไฮไลท์ที่ 10 ผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินภายในงานครบ มูลค่าตั้งแต่ 500 - 3,999 บาท รับ 1 สิทธิ์ในการชิงรางวัล มูลค่าตั้งแต่ 4000 - 5,000 บาท รับเพิ่มอีก 1 สิทธิ์ในการชิงรางวัล และทุก   5,000 บาท ต่อไป รับเพิ่มอีก 1 สิทธิ์ในการชิงรางวัล โดยจับรางวัลทุกวัน ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี Exhibition Hall 6 และประกาศรายชื่อผู้โชคดีทาง www.tif2022.com พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่สุดอลังการอย่างรถยนต์ไฟฟ้า EV - Ora Good Cat รวมทั้ง IT Gadget iPhone 14 , Samsung flip 4 , iPad Gen 9 2021 , iPad mini 2021 , Samsung Galaxy Tab S8 , Samsung Galaxy Tab A7 Lite , Smart Watch , คอมพิวเตอร์ Laptop อีกมากมาย รวมมูลค่ากว่า 1,600,000 บาท

 

ผมขอเชิญชวนประชาชนมาเที่ยวงานมหกรรมการประกันภัย” Thailand InsurTech Fair 2022 หรือ TIF 2022 ภายใต้ธีมก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย เพื่อโลกใหม่ไร้ขีดจำกัด” Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Future” ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565 ฮอลล์ 6 อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับประกันภัยและนวัตกรรมต่าง ด้านการประกันภัย และเทคโนโลยีด้านประกันภัยแล้วยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยราคาพิเศษลดสูงสุด 30% พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย ทั้งนี้งาน “Thailand InsurTech Fair 2022 จะจัดขึ้นในลักษณะ Hybrid ทั้งรูปแบบ Online สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.tif2022.com หรือในรูปแบบ Onsite โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง tif@oic.or.th หรือทาง Facebook Page : Center of InsurTech Thailand ...ขอย้ำผู้สนใจเข้าร่วมงานนี้..! ควรเตรียมความพร้อมในทุกมิติ..แล้วพบกันครับเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

 

หมวดหมู่ข่าว: 

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. คว้ารางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่นในการประเมินทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2564

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
17 กันยายน 2565

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. คว้ารางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่นในการประเมินทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2564 

 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศผลการประเมินทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปีบัญชี 2564 จำนวน 4 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น 2. รางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น 3. รางวัลการพัฒนาดีเด่น และ 4. รางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น โดยมีทุนหมุนเวียนที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 13 แห่ง จากจำนวนทุนหมุนเวียนทั้งหมด 115 แห่ง สำหรับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ.ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น โดยได้รับคะแนนการประเมินภาพรวม 4.3144 คะแนน ซึ่งมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2564 ภายใต้ชื่องานสานต่อนโยบายรัฐ ต่อยอดเศรษฐกิจ สู่อนาคตวิถีใหม่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ห้องจูปิเตอร์ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี 

 

 

อนึ่ง กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ของกรมบัญชีกลางตั้งแต่ 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยได้นำผลและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการติดตามหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ทำให้สามารถไล่เบี้ยเรียกคืนเงินจากเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนไม่จัดทำประกันภัย ... เพิ่มขึ้นมีการนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตลอดจนมีการปรับปรุงการทำงานจนมีผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ สำหรับการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน (ตัวชี้วัดด้านที่ 4) ด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มีการจัดให้มีการระบุความเสี่ยงของกองทุนที่มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายประจำปี และมีการดำเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน ด้านการตรวจสอบภายในมีการกำหนดแผนการตรวจสอบภายในที่ชัดเจน และมีการดำเนินการตามแผน รวมทั้งรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ด้านการจัดการสารสนเทศและดิจิทัล มีการกำหนดแผนปฏิบัติการดิจิทัลและแผนปฏิบัติการดิจิทัลประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ สำหรับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงานและลูกจ้าง (ตัวชี้วัดด้านที่ 5) คณะกรรมการบริหารกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีการกำหนดทิศทาง แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด มีการติดตามการปฏิบัติงานด้านต่าง ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอย่างชัดเจน ทำให้ในปี 2564 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้รับคะแนนการประเมินภาพรวม 4.3144 คะแนน และเป็นคะแนนการประเมินสูงสุดที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเคยได้รับการประเมินจากกรมบัญชีกลาง 

 

 

ทั้งนี้ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงาน คปภ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ .. 2535 โดยมีบทบาทเป็นกองทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยหรือประสบภัยจากรถคันที่ไม่มีประกันภัย ... และไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น เจ้าของรถที่ไม่ทำประกันภัย ... ไม่จ่ายค่าเสียหายหรือรถชนแล้วหนี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการรักษาพยาบาลหรือได้รับการชดใช้ค่าเสียหายได้ทันท่วงที เป็นหลักประกันว่าสถานพยาบาลทุกแห่งจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล โดยการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากรถ แบ่งออกเป็น 1) กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท 2) กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะจ่ายรายละ 35,000 บาท หรือ 3) หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและต่อมาทุพพลภาพหรือเสียชีวิต จ่ายสูงสุดรายละไม่เกิน 65,000 บาท และเมื่อจ่ายแล้วกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะไล่เบี้ยเรียกคืนกับเจ้าของรถที่ไม่จัดทำประกันภัย ... พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 ที่ผ่านมากองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2535 และในปี 2564 ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถ เป็นจำนวน 9,151 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 179,198,565.58 บาท ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระความเดือนร้อนของผู้ประสบภัยจากรถและครอบครัว รวมทั้งช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้านสวัสดิสงเคราะห์อีกด้วย

 

 

รางวัลที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นขวัญกำลังใจให้บุคลากรในสังกัดกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. รักษามาตรฐานการทำงานเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย 

หมวดหมู่ข่าว: 

เลขาธิการ คปภ. ผนึกกำลัง “ชัชชาติ” ผู้ว่าฯ กทม. ปลุกพลังนักบิดมอเตอร์ไซด์ทำประกันภัย พ.ร.บ.

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
13 กันยายน 2565

เลขาธิการ คปภ. ผนึกกำลัง “ชัชชาติ” ผู้ว่าฯ กทม. ปลุกพลังนักบิดมอเตอร์ไซด์ทำประกันภัย พ.ร.บ.

พร้อมบูรณาการความร่วมมือด้านประกันภัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตบุคลากร-ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยระบบประกันภัย ก่อนขยายกิจกรรมรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 
 
  ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) และ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่อง 
เพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน” ภายใต้ชื่องาน “คปภ. ปลุกพลังนักบิด เปิดโลกใหม่ให้คุ้มครองด้วยประกันภัย พ.ร.บ.” (วันนี้) 13 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. ถือเป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคันทุกประเภทต้องจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า ถ้ารถทำประกันภัย พ.ร.บ. นอกจากจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดแล้ว ยังมีสิทธิได้รับความคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-500,000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน 
 
นอกจากนี้ จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ามีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เพียงร้อยละ 65 ของรถจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสม ทำให้เมื่อเกิดเหตุจากรถที่ไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และจากสถิติในปี 2564 มีผู้ประสบภัยจากรถที่มาขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จำนวน 9,112 ราย คิดเป็นเงินจำนวน 180 ล้านบาท ซึ่งจากสถิติพบว่า 70% เป็นผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์ จากตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีรถที่อยู่นอกระบบการประกันภัย พ.ร.บ. อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเจ้าของรถจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนน ทั้งนี้ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากเป็นผู้ที่ใช้รถที่ไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้น หากเป็นทั้งเจ้าของรถที่ไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นออกไปใช้เองจะมีความผิดทั้ง 2 ข้อหา โดยมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
 
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจในการกำกับดูแล พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งมั่นคง และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย จึงได้จัดทำ “โครงการรณรงค์เชิงรุกในพื้นที่นำร่อง เพื่อส่งเสริมการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน” เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ให้กับพี่น้องประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประกันภัย พ.ร.บ. สำนักงาน คปภ. จึงผนึกกำลังกับกทม. เพื่อปลุกพลังผู้ขับขี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรก ซึ่งมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการสร้างกรุงเทพมหานคร ให้เป็นเมืองที่มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตสำหรับประชาชน รวมทั้งเป็นไปตามนโยบาย “ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์” (Zero Accident) ของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมพี่น้องประชาชนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประกันภัย พ.ร.บ. เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผู้ใช้รถจักรยานยนต์สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และจากข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ณ 10 กันยายน 2565 พบว่า กรุงเทพมหานครมีประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุทางถนนสูง โดยมีผู้บาดเจ็บ 77,093 ราย เสียชีวิต 657 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.50 ที่เกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ โดยที่มีสัดส่วนการทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เพียง 70%
ภายหลังจากการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการที่กรุงเทพมหานครแล้ว สำนักงาน คปภ. จะเดินหน้ารุกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อจัดกิจกรรม Road Show และกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักให้กับประชาชนผู้ใช้รถ สร้างการเข้าถึงประกันภัย พ.ร.บ. และการมีส่วนร่วมในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายที่นิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทาง
 
ด้าน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. เห็นด้วยกับแนวคิดของสำนักงาน คปภ. เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก และมีความจำเป็นต่อการเดินทางของคนกรุงเทพเป็นอย่างมาก แต่รถจักรยานยนต์ก็มีความเสี่ยง ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่ได้ทำประกันภัยก็จะกระทบกับชีวิตครอบครัว ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าผลกระทบที่จะได้รับหลังจากเกิดอุบัติเหตุจะมีค่าใช้จ่ายตามมาหากไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ.  ดังนั้น การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สามารถเจาะผ่านผู้นำชุมชนให้ช่วยรณรงค์ภายในชุมชน หรือจะเป็นกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มไรเดอร์ GRAB  ซึ่ง กทม. สามารถช่วยรณรงค์ได้ทันที โดยเน้นให้ความร่วมมือรณรงค์ประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ โดยรณรงค์เป็นแพ็กเกจ ทั้งเรื่องอุบัติเหตุในการขับขี่ การสวมหมวกนิรภัย และให้ทำประกันภัย พ.ร.บ. ควบคู่กันไปด้วย ในโอกาสนี้ กทม. ขอขอบคุณสำนักงาน คปภ. ที่มอบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จำนวน 500 ฉบับ ให้แก่พนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของ กทม.ให้ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัย และค่าใช้จ่ายในการทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ตกปีละกว่า 300 บาท หรือเก็บเงินวันละบาทเท่านั้น จำเป็นจะต้องสื่อสารในเรื่องนี้ไปยังกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น แต่จะต้องทำเป็นแพ็กเกจ ทั้งเรื่องการรณรงค์ทำประกันภัย พ.ร.บ. ควบคู่ไปกับการรณรงค์สวมหมวกนิรภัย การรณรงค์ไม่ขับรถเร็ว การรณรงค์รักษากฎจราจร เป็นต้น
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนี้ สำนักงาน คปภ. และกรุงเทพมหานคร จะต่อยอดการบูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดทั้งในการรณรงค์ให้ชาวกทม.ทำประกันภัย พ.ร.บ. และร่วมมือในการนำระบบประกันภัยมาช่วยบริหารความเสี่ยง ตลอดจนช่วยให้ชาวกทม. และบุคลากรในสังกัดกทม. สามารถเข้าถึงและได้รับความเป็นธรรมในเรื่องประกันภัยอย่างเต็มที่
 
“ทั้งนี้ หากไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องประกันภัย หรือต้องการข้อมูลด้านประกันภัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Add Line Official @oicconnect” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
............................................................................
หมวดหมู่ข่าว: 

หน้า

Subscribe to RSS - ข่าว