สำนักงาน คปภ. จัดพิธีถวายพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงาน คปภ. จัดพิธีถวายพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงาน คปภ. จัดพิธีถวายพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คปภ. คัดเลือกเข้มข้นเพื่อเฟ้นหา “ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประกันภัย”ชุดที่ 4
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นที่มีสิทธิเข้ารับการอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ประสงค์จะสมัครขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการ (บุคคลภายนอก) เพื่อทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย ตามระเบียบสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559
กำหนดการ |
วันที่ |
1. เข้ารับการอบรม ณ ห้องวิภาวดี แกรนด์บอลรูม C ชั้น Lobby โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว |
28 – 30 ตุลาคม 2565 |
2. สอบข้อเขียน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว |
30 ตุลาคม 2565 |
3. สอบสัมภาษณ์ ณ ห้องประชุมสำนักงาน คปภ. | 9 พฤศจิกายน 2565 |
4. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการทางเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. www.oic.or.th | 15 พฤศจิกายน 2565 |
คปภ. เผยผลตอบรับงาน TIF 2022 เกินคาด และมี tech startup ต่างประเทศเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ขณะที่ยอดซื้อประกันภัยในงานทะลุเป้า เตรียมจัด TIF ปีหน้ายิ่งใหญ่กว่าเดิม
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้จัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” ภายใต้แนวคิด “Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Future ก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย เพื่อโลกใหม่ ไร้ขีดจํากัด” เมื่อวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 6 และทางออนไลน์ www.TIF2022.com โดยการจัดงาน TIF 2022 เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดของงานจากสัปดาห์ประกันภัยไปสู่งาน Thailand InsurTech Fair ที่ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ถือเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งในปีนี้ได้จัดเป็นครั้งที่สองโดยได้ปรับรูปแบบงานให้เป็นแบบ Active Hybrid เนื่องจากสถานการณ์โควิดได้คลี่คลายลง ประชาชนที่สนใจอยากเข้าชมงานแบบ onsite และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันในยุค New Normal จึงได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมงานและบริษัทประกันภัยเป็นอย่างมาก
การจัดงาน Thailand InsurTech Fair 2022 ในปีนี้ไม่ได้ตั้งเป้าความสำเร็จไว้ที่ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเท่านั้น แต่สำนักงาน คปภ. อยากเห็นการยกระดับการประกันภัยเข้าสู่มาตรฐานสากล และมุ่งสู่ Digital Insurance Ecosystem ซึ่งการจัดงานได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของ InsurTech innovation บริษัทประกันภัยมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยมี Tech firms และ Startups จากต่างประเทศให้ความสนใจและมาร่วมออกบูธภายในงาน พร้อมนำเสนอนวัตกรรม สร้างเครือข่าย และ business matching ภายในงานอย่างคับคั่งและความสำเร็จในเรื่องของ OIC InsurTech Award การประกวดสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ซึ่งมีทีมเข้าร่วมประกวดจำนวนมากขึ้นในทุกปี และในปีนี้มีการนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมอย่างตรงจุด เช่น Application สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวชสามารถพบนักนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ทางออนไลน์ เพื่อทำการวินิจฉัยประเมินวัดความเสี่ยงและคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยี AI และ Platform สำหรับเชื่อมต่อคลินิกแพทย์เอกชนที่มีระบบการควบคุมต้นทุนค่ารักษา ปริมาณยาที่จ่าย (dosage) และมาตรฐานคิดค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงระบบตรวจจับการฉ้อฉล
สำหรับผลตอบรับของการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” นับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังสัมมนาจำนวน 35,161 ราย มีSeminar Sessions ในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจกว่า 17 หัวข้อ จากวิทยากร 27 คน จากหลายประเทศ Exhibition Hall มีบริษัทประกันภัยและหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล และธนาคาร รวมทั้งมีบริษัท Tech firm และ InsurTech Start up ทั้งจากในและต่างประเทศ รวมผู้เข้าร่วมจัดงานมากกว่า 80 แห่ง ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 202,389 คน แบ่งเป็น On ground จำนวน 43,821 คน Online จำนวน 158,568 คน Business Matching การจับคู่ทางธุรกิจผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล และสานสัมพันธ์ทางธุรกิจเพื่อต่อยอดการเติบโตของบริษัทในวงการประกันภัย มีผู้สนใจเข้าร่วมพูดคุยธุรกิจจำนวนกว่า 300 ราย ส่วนยอดซื้อกรมธรรม์ประกันภัยภายในงาน มีเบี้ยประกันภัยสูงถึงกว่า 1,063 ล้านบาท จำนวนกรมธรรม์รวมมากกว่า 19,365 กรมธรรม์ มีทุนประกันภัยรวมมากกว่า 9,200 ล้านบาท แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต มีเบี้ยประกันภัย 905 ล้านบาท 7,544 กรมธรรม์ ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย มีเบี้ยประกันภัย 158 ล้านบาท 11,821 กรมธรรม์ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การจัดงานประสบความสำเร็จมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานที่น่าสนใจ ประกอบด้วยการที่เป็นงาน InsurTech ที่ครบวงจรงานเดียวของประเทศ ที่มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลด้านการประกันภัยและภาคอุตสาหกรรมประกันภัย มีการจัดงานในรูปแบบ Hybrid ผสมผสานรูปแบบ online event และ onsite event ควบคู่กัน ที่สามารถตอบโจทย์ผู้เข้าชมงานได้ทั้งการเดินทางมาชมงานที่อิมแพค เมืองทองธานี สถานที่จัดงานจริง และการเข้าชมผ่านทางออนไลน์ที่สามารถเข้าชมได้ง่าย สะดวกและตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งทาง Smart Phone หรือคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสในแบบ Interactive ที่ให้ผู้เข้าชมงานสร้างตัวเสมือนหรือ Avatar ของตัวเองในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน เพื่อสะสมแต้มและแลกรับของรางวัล รวมถึงจุดให้ความรู้แนวใหม่แบบ Interactive wall และ interactive floor นับเป็นการพลิกโฉมการเข้าชมงานของอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างแท้จริง ผู้เข้าชมงานได้เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยจากหลากหลายบริษัท ได้ในที่เดียว แบบครบ จบ คุ้มในราคาสุดพิเศษ ที่ได้ส่วนลดสูงสุด 30 % และยังได้รับคูปองชิงโชคของรางวัลมากมายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV-Ora Good Cat รวมทั้ง IT Gadget ต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ Smart watch และอื่น ๆ มากกว่า 40 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1,600,000 บาท ในส่วนงานสัมมนามีวิทยากรชั้นนำระดับแนวหน้าจากทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ และมาเลเซีย มาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ กว่า 17 หัวข้อ ในเนื้อหาที่เข้มข้นและน่าสนใจ ซึ่งสามารถรับชมได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยการสัมมนาในทุกหัวข้อสามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง www.tif2022.com อีกด้วย และในส่วนของ InsurVese Zone เป็นอีกโซนที่ดึงความสนใจของผู้เข้าชมงาน เพราะได้ชมเทคโนโลยีประกันภัยสุดล้ำ จากเหล่า tech startup นำเสนอเทคโนโลยี InsurTech มาร่วมงานทั้งหมด 40 บูธ ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย อังกฤษ ฮ่องกง เป็นต้น
ด้าน Start up ของไทย ก็มีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอุปกรณ์จับคลื่นเสียง ตรวจการล้มของผู้สูงอายุภายในบ้านอัตโนมัติ เพื่อเรียกกู้ภัยและรถพยาบาล ให้เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ด้าน Tech Start up ของต่างประเทศ ที่น่าสนใจ อาทิ ผู้ทำ platform กลางเพื่อรับส่งข้อมูลกลางระหว่างภาคธุรกิจประกันภัยทุกบริษัท รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ OIC Gateway + IBS ของสำนักงาน คปภ. สำหรับ metaverse เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยมี startup ผู้ให้บริการบน metaverse หลายเจ้า ซึ่งสามารถสร้างสิ่งที่อยู่ในไอเดีย ไม่ว่าจะเป็นการขาย หรือการให้บริการต่าง ๆ แบบ เสมือนจริง แบบล้ำสมัยให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยฝีมือคนไทยเอง เช่น Digital Marketing Platform แนวใหม่ ที่ผสานความสนุกของเกมการท่องเที่ยว และโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีในยุค Web 3.0 ให้เกิดสะพานเชื่อมต่อคุณค่าจากโลกดิจิทัล มาสู่ธุรกิจในโลกจริง และนวัตกรรมประกันภัยอื่น ๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น Artificial Intelligence (AI) ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยได้อย่างเหมาะสม Blockchain ที่ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการประกันภัย และ Machine Learning (ML) ที่ช่วยในเรื่องของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และยังได้ความรู้ด้านประกันภัยจากบูทนิทรรศการของสำนักงาน คปภ. สมาคมด้านการประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัย และบริษัท Tech Firm InsurTech Startup จากทั้งในและต่างประเทศ ร่วมงานคับคั่ง
ในวันนี้ (18 ตุลาคม 2565) นอกจากจะมีการแถลงข่าวผลการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” แล้ว ยังมีการจับรางวัลใหญ่ให้กับผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยภายในงาน โดยผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์ไฟฟ้า EV - Ora Good Cat มูลค่ากว่า 763,000 บาท คือ คุณนุชรี อ่อนพร้อม ผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต จำนวน 1 ฉบับ
“ผมขอขอบคุณภาคธุรกิจประกันภัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่บูรณาการร่วมกันจัดงาน TIF ปีนี้จนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทั้งจากตัวเลขผู้ร่วมงานและ tech startup จากต่างประเทศได้นำเสนอเทคโนโลยี InsurTech สุดล้ำมาร่วมงานกว่าประมาณ 40 บูธ สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของประชาชนเกี่ยวกับการประกันภัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัย จึงนับว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญของการจัดงานแบบ Active Hybrid ของภาคธุรกิจประกันภัยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และยังเป็นการประกาศว่าภาคธุรกิจประกันภัยพร้อมที่จะปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุค New Normal และ Next Normal รวมไปถึงเรื่องของ Digital Disruption ที่บริษัทประกันภัยจำเป็นต้องมีการปรับตัวในการรับเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเริ่มเตรียมการให้ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าในปีหน้าการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2023” จะยิ่งใหญ่กว่าปีนี้” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
คปภ. ประกาศผลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย OIC InsurTech Award 2022 ในงาน Thailand InsurTech Fair ครั้งที่ 2
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยศูนย์ Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดงานประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2022 ภายใต้แนวคิด“AWAKEN THE NEW POWER OF INSURANCE” เพื่อเฟ้นหาสุดยอด InsurTech ของประเทศไทยที่เสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านประกันภัยที่เป็นเลิศ ซึ่งมีทีมที่ให้ความสนใจสมัครร่วมประกวดเป็นจำนวนมากกว่า 167 ทีม โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป โดยมี 10 รางวัล รวมเงินรางวัล 500,000 บาท พร้อมโล่ และการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจะให้ทีมที่ได้รับการคัดเลือกประเภทบุคคลทั่วไป 5 ทีมสุดท้าย และประเภทนิสิต/นักศึกษา 5 ทีมสุดท้าย ที่ผ่านการคัดเลือกได้มานำเสนอผลงานที่บูธของสำนักงาน คปภ. ในงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” ในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 เวลา 12.45 - 14.45 น. ณ อิมแพค เอ็กซิบิชัน ฮออล์ 6 เมืองทองธานี นั้น
ในการนี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ได้มอบหมายให้นายชัยยุทธ มังศรี เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและมอบรางวัลและมีคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายทำนุ อมาตยกุล ประธานคณะอนุกรรมการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย คุณกัลยา จุกหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย คุณอมฤต ฟรานเซน เลขาธิการ สมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณพรชัย แสนชัยชนะ Brand Director บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกลยุทธ์องค์กร สำนักงาน คปภ และนายชินพงศ์ กระสินธุ์ Head of Center of InsurTech, Thailand (CIT) โดยการนำเสนอของแต่ละทีมในรอบชิงขนะเลิศเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 มีความหลากหลายและมีความน่าสนใจ ซึ่งการพิจารณาตัดสินรอบชิงชนะเลิศเป็นไปอย่างเข้มข้น
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก 100 คะแนน ประกอบด้วย 1. Wow factor & Pitching Presentation โครงการน่าสนใจ ฟังแล้วน่าตื่นเต้น มีไอเดียใหม่ ๆ และดึงดูดในการฟังครั้งแรกได้ สามารถนำเสนอผลงานในเวลาที่กำหนดได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งตอบคำถามคณะกรรมการได้อย่างชัดเจนครบถ้วน 30 คะแนน 2. Problem / Pain Point ปัญหาที่เสนอนั้นมีอยู่จริง และปัญหานั้นเกิดผลกระทบ มีผู้ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด หรือความรุนแรงของปัญหาที่เกิด และมีผลกระทบมากถึงมากที่สุด 20 คะแนน 3. Product / Solution สิ่งที่เสนอมานั้น สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด แก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จ ครบทุกมิติ และมีความเป็นไปได้ในบริบทประเทศไทย 20 คะแนน 4. Market Opportunities มีโอกาสทางการตลาดมากน้อยเพียงใด 10 คะแนน และ 5. Technology ที่นำมาใช้สามารถตอบโจทย์ตรงกับ Solution ที่ต้องการ มีความน่าสนใจ ทันสมัย เป็นเรื่องใหม่ ไม่ค่อยมีผู้ที่เข้าใจเชิงลึกมากนัก หรือยังไม่มีการใช้งานแพร่หลายในธุรกิจประกันภัยมากนัก มีการประยุกต์ Technology เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการนำมาใช้งานขั้นพื้นฐาน 20 คะแนน
สำหรับผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย OIC InsurTech Award 2022 ประเภทนิสิต / นักศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Schmettering ภายใต้แนวคิด “จากแนวโน้มที่มีผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยบางรายมีความกังวลกับการพูดคุยต่อหน้ากับนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ จึงได้คิดค้น Application สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวช สามารถพบนักนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ทางออนไลน์ เพื่อทำการวินิจฉัยประเมินวัดความเสี่ยง และคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยี AI” โดยได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Plantpot ภายใต้แนวคิด “Long term health care insurance ประกันภัยสุขภาพรูปแบบใหม่สำหรับสังคมยุคใหม่” และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม METTA ภายใต้แนวคิด “Community สำหรับผู้สูงวัยบน Metaverse เพื่อการเสนอขายประกันภัยที่ใช่ สำหรับไลฟ์สไตล์ที่ชอบ” และรางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Code Line ภายใต้แนวคิด “Application เพื่อ surveyor ยกระดับการเคลมรถยนต์และการบริการลูกค้า” รางวัลชมเชยลำดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Infinity ภายใต้แนวคิด “เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความเสียหายรถยนต์ในโลกเสมือนจริง ผ่านเทคโนโลยี MR”
ส่วนผลการตัดสินประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมประกันสุขภาพ ซ่อมอู่ ฟิน ฟิน ภายใต้แนวคิด “Platform สำหรับเชื่อมต่อคลินิกแพทย์เอกชนที่มีระบบการควบคุมต้นทุนค่ารักษา ปริมาณยาที่จ่าย (dosage) และมาตรฐานคิดค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงระบบตรวจจับการฉ้อฉล ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถออกผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองด้านการเข้ารักษาที่คลินิกฯ ได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้ได้เบี้ยประกันราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ที่มีสวัสดิการพื้นฐานอยู่แล้ว สามารถเข้าถึงและเลือกใช้การประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น” ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Blue oak ภายใต้แนวคิด “ลดความสูญเสียเมื่อเกิดภัย เพิ่มความอุ่นใจให้ผู้เอาประกัน หั่นค่าเบี้ยให้ถูกลงสำหรับผู้สูงอายุ” รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Meddit ภายใต้แนวคิด “Meddit สรุป พร้อมแนะนำประกันของคุณโดย AI” และรางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Covest Paratex ภายใต้แนวคิด “ระบบประกันรูปแบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะ บนโครงข่ายบล็อกเชน” และรางวัลชมเชยลำดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Buddy Survey ภายใต้แนวคิด “Auto Claim Rider Service”
เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวแสดงความยินดีและร่วมถ่ายภาพทางออนไลน์ พร้อมกล่าวให้โอวาทแก่ผู้ได้รับรางวัลในตอนหนึ่งว่า รางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ประจำปี 2565 หรือ OIC InsurTech Awards 2022 เพื่อจะเฟ้นหา “NEW POWER พลังใหม่” จากคนรุ่นใหม่ที่จะมาช่วยพลิกโฉมโลกประกันภัย ให้สามารถเสริมสร้างอุตสาหกรรมประกันภัยให้แข็งแกร่ง รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคด้านการประกันภัย โดยโครงการปีนี้สามารถจัดกิจกรรม Bootcamp เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน InsurTech และความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ซึ่งจัดทั้งในรูปแบบ Online และ Offline เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาทักษะในการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) รวมถึงมีทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิคอยเป็น Coach ให้คำปรึกษาแบบ Intensive Coaching เพื่อช่วยกระตุ้นความคิดและบ่มเพาะผลงานให้สามารถตอบโจทย์ Pain Point ต่าง ๆ ได้ตรงจุด และสามารถนำเสนอนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ที่มีความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ในการต่อยอดไปสู่ภาคธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ และจากการประกวดครั้งนี้ทำให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่และกลุ่ม InsurTech Startup ในประเทศไทยนั้น มีศักยภาพไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ เราได้เห็นถึงพลังของคนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของการร่วมกันพลิกโฉมอุตสาหกรรมประกันภัย และมีพลังในการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งศูนย์ CIT จะมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรม พร้อมทั้งประสานพลังคนทุก generation โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีประกันภัย (InsurTech) ซึ่งจะเป็นประโยชน์เป็นอันมากต่อธุรกิจประกันภัยของไทยในอนาคต
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการปีนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมประกันภัยให้แก่ กลุ่มนิสิต นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย และ Tech Firm ที่มีความสนใจได้นำความรู้ไปพัฒนานวัตกรรมด้านการประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้รับรางวัลทุกทีม ขอให้รักษาคุณภาพและหมั่นพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้นำความรู้มาต่อยอดและช่วยกันพัฒนา InsurTech ของประเทศไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
งาน Thailand InsurTech Fair 2022 เริ่มแล้ว! เลขาธิการ คปภ. เปิดมุมมองใหม่ก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย พร้อมแนะธุรกิจประกันภัยไทยใช้กลยุทธ์แบบ Insurance Liquid Ecosystem และหลัก “3R” เพื่อให้ทันเกมส์
เลขาธิการ คปภ. แจงความคืบหน้าการช่วยเหลือด้านประกันภัยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู เผยบริษัทประกันภัยทยอยจ่ายค่าสินไหมแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานมอบรางวัล “สุดยอดประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2565”
และกดปุ่มเปิดงาน Thailand InsurTech Fair ครั้งที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่ โดยเชิญยืนไว้อาลัยเหตุกราดยิงที่หนองบัวลำภู ก่อนเปิดงาน
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (7 ตุลาคม 2565) ณ ห้องประชุม ฟีนิกซ์ 1 - 6 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศที่นายกรัฐมนตรีอนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อสลักลงบนโล่เกียรติยศ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติบริษัทประกันภัย องค์กร หน่วยงาน และบุคคลดีเด่นด้านการประกันภัย และมีการดำเนินการต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 18 โดยมีรางวัลรวม 14 ประเภท 66 รางวัล อาทิ รางวัลบริษัทประกันภัยดีเด่น รางวัลตัวแทน และนายหน้าประกันภัยคุณภาพดีเด่น รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงาน คปภ. และระบบประกันภัย รวมทั้งรางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น (หรือ ESG) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจประกันภัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยก่อนเปิดงาน รัฐมนตรีอาคมได้เชิญชวนผู้ที่เข้าร่วมงานยืนไว้อาลัยเพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุกราดยิงที่ศูนย์เด็กเล็กอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งทำให้มีเด็กเล็ก และประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษและแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ในตอนหนึ่งว่า ขอชื่นชมคณะกรรมการ คปภ. ผู้บริหาร บุคคลากรสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมที่ได้แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการจัดงานเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติองค์กร หน่วยงาน และบุคคลดีเด่นด้านการประกันภัย ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่อระบบการประกันภัยและต่อสังคม และขอบคุณภาคธุรกิจประกันภัยที่ได้มีบทบาทสำคัญร่วมกับภาครัฐและสำนักงาน คปภ. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผ่านระบบการประกันภัย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยภาคธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ แม้จะเกิดสถานการณ์ที่ยากลำบากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ภาคธุรกิจประกันภัยยังสามารถผ่านพ้นมาได้ ในระบบประกันภัยมีส่วนสำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ผู้บริโภค ลูกค้ารายย่อย นิติบุคคล หรือร่วมกลุ่มเป็นสถาบันต่าง ๆ ส่วนที่ 2 ภาคธุรกิจ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย และ ส่วนที่ 3 ผู้กำกับดูแล (Regulator) คือ สำนักงาน คปภ. ซึ่งทั้งสามส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญของการประกอบธุรกิจคือการแสวงหากำไร ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นภาระของประชาชน ประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงิน ประชาชนควรรู้ว่ามีทางเลือกอย่างไร เพื่อการวางแผนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสำนักงาน คปภ. ในการพิจารณาอนุญาตแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยควรจะต้องมีสนามทดสอบ sandbox เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำประกันภัยและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยลูกค้าผู้บริโภคจะต้องมีความเข้าใจทักษะการเงิน Financial literacy ซึ่งจากการสำรวจทักษะทางเงินก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้ามามีส่วนร่วมในระบบประกันภัย การพัฒนาทักษะทางการเงินของประชาชนมีความสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง บทบาทของภาคธุรกิจประกันภัยนอกจากเป็นการระดมเงินออมแล้วการให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในในช่วงเวลานั้น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ
พัฒนาการของการประกันชีวิตและการประกันวินาศภัยมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพคือการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ซึ่งช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกร เรื่องสภาวะภูมิอากาศก็เป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทจะต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อไป และในอนาคตจะต้องให้เกษตรกรมีส่วนร่วมมากขึ้น สิ่งสำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐซึ่งก็เป็นโอกาสของภาคธุรกิจประกันภัย นอกจากนี้การปรับตัวของธุรกิจประกันภัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำได้ดีแล้ว มีการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชนรายย่อย และมีความเข้มข้นในการกำกับดูแลของคปภ. โดยภาคธุรกิจประกันภัยมีความท้าทายในอนาคตอยู่ 3 เรื่อง คือ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ Aging Society การออมเงินของข้าราชการ และการออมของภาคประชาชนผู้ใช้แรงงาน ทั้งนี้การอำนวยความสะดวกของภาครัฐในการดำเนินธุรกิจ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government จะเป็นการลดภาระทางเอกสารโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและลดขั้นตอนในการทำงานต่อไปในอนาคต
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ทำพิธีเปิดงาน Thailand InsurTech Fair (TIF) ครั้งที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งงาน TIF เป็นงานที่เป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทย และบุคลากรผู้คร่ำหวอดในวงการประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนพันธมิตรประกันภัยจากทั่วทุกมุมโลกที่จะมาสร้างเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน โดยภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านการประกันภัย การจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยแบบใหม่ ๆ และรายการส่งเสริมการขาย อาทิ ส่วนลดสูงสุด 30% การสัมมนาเกี่ยวกับการประกันภัยและเทคโนโลยีการประกันภัยที่น่าสนใจ การนำเสนอเทคโนโลยีประกันภัยและนวัตกรรม จาก tech startup และ การหารือและจับคู่ธุรกิจภายในงาน เพื่อการสร้างเครือข่าย เป็นต้น โดยรัฐมนตรีฯ ได้เข้าเยี่ยมชมบูธและเป็นประธานในพิธีเปิดบูธของสำนักงาน คปภ. และของบริษัทประกันภัยอีกหลายแห่ง บรรยากาศในงาน TIF เป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ด้าน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันภัยไทย ได้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งแตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนผ่านจากบริบทของโลกในยุคความปกติใหม่ (New Normal) ไปสู่โลกในยุคหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโลกในยุคความปกติถัดไป (Next Normal) นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมอย่างก้าวกระโดด รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ที่สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เป็นต้น ทำให้สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนในด้านการประกันภัย ได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมประกันภัย รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนมาตรการเชิงรุกที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ระบบการประกันภัยมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นที่พึ่งพิงของประชาชน รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในกรณีการเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทประกันภัย จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และสนับสนุนบุคลากรอำนวยความสะดวกในการรับคำขอรับชำระหนี้ เพื่อให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยและประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง มีการจัดเตรียมสถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และพัฒนาเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชันเพื่อใช้เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารผู้เอาประกันภัย
รางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ถือเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง โดยในปีนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกอย่างเป็นธรรมและเข้มข้นภายใต้กรอบกติกาที่กำหนดไว้ สำหรับรางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด (Hall of Fame) ประจำปี 2564 ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงาน คปภ. และระบบประกันภัย ประจำปี 2564 จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนายกมลภพ วีระพละ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มงานการเงินและบัญชี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2564 อันดับที่ 1 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และรางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2564 อันดับที่ 1 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
“ผมขอแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลทุกคน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนจะยังคงมุ่งมั่นรักษาคุณภาพการดำเนินการและการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งยกระดับการดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นทั้งแบบอย่างที่ดี และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการประกันภัยเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในฐานะเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยง อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และขอเชิญชวนประชาชนมาเที่ยวงาน “มหกรรมการประกันภัย” Thailand InsurTech Fair 2022 หรือ TIF 2022 ภายใต้ธีม “ก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย เพื่อโลกใหม่ไร้ขีดจำกัด” Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Future” ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565 ณ ฮอลล์ 6 อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับประกันภัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ด้านการประกันภัย และเทคโนโลยีด้านประกันภัยแล้วยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยราคาพิเศษลดสูงสุด 30% พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย และ ไฮไลท์สำคัญคือในวันพรุ่งนี้ (8 ตุลาคม 2565) จะมีการตัดสินการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย OIC InsurTech Award 2022 ทั้งนี้งาน “Thailand InsurTech Fair 2022 จะจัดขึ้นในลักษณะ Hybrid ทั้งรูปแบบ Online สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.tif2022.com หรือในรูปแบบ Onsite โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง tif@oic.or.th หรือทาง Facebook Page : Center of InsurTech Thailand ..แล้วพบกันครับ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
Attachment | Size |
---|---|
![]() | 342.16 KB |
![]() | 319.2 KB |
![]() | 353.88 KB |
![]() | 332.59 KB |
![]() | 338.42 KB |
![]() | 325.79 KB |
![]() | 382.42 KB |
![]() | 320.05 KB |
![]() | 444.25 KB |
![]() | 352.28 KB |
![]() | 330.72 KB |
![]() | 315.5 KB |
![]() | 316.93 KB |
![]() | 321.06 KB |
![]() | 320.75 KB |
![]() | 306.41 KB |
![]() | 325.3 KB |
![]() | 323.19 KB |
![]() | 329.4 KB |
![]() | 334.56 KB |
คปภ.ลงพื้นที่เร่งช่วยเหลือด้านการประกันภัยเป็นการด่วน เหตุอดีตตำรวจคลั่งกราดยิง 36 ศพ ที่หนองบัวลำภู
สำนักงาน คปภ. เร่งหาข้อยุติแก้ไขปัญหาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า EV แพง