คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2022 ระดมสมองภาคธุรกิจประกันภัยถอดบทเรียนโควิด
คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2022 ระดมสมองภาคธุรกิจประกันภัยถอดบทเรียนโควิด
คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2022 ระดมสมองภาคธุรกิจประกันภัยถอดบทเรียนโควิด
สำนักงาน คปภ. เร่งถกภาคธุรกิจประกันภัยระดมแนวทางแก้ pain points ประกันภัยสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม
เลขาธิการ คปภ. ลงพื้นที่รับฟังสภาพปัญหาและหารือเกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Attachment | Size |
---|---|
![]() | 1.47 MB |
เลขาธิการ คปภ. นำคณะผู้บริหาร สำนักงาน คปภ. บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล
คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีเพลิงไหม้ผับดังสัต**บ“เม้าส์เทน บี”
• เลขาธิการ คปภ. สั่งตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลังความสามารถ พร้อมแนะผู้ประกอบสถานบริการทุกประเภทให้ความสำคัญทำประกันอัคคีภัยเพื่อนำระบบประกันภัยเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ผับชื่อดังในสัต**บ “เม้าส์เทน บี MountainB” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 522 ตารางเมตร ตั้งอยู่เลขที่ 2/84 หมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัต**บ จังหวัดชลบุรี ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 14 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากไฟคลอก จำนวน 33 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายกลยุทธ์องค์กร สำนักงาน คปภ. ภาค 6 (ชลบุรี) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรี ให้ลงพื้นที่จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งการรับแจ้งเรื่องการทำประกันภัย ตรวจสอบข้อมูลและเอกสารการทำประกันภัย และติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อใช้ระบบประกันภัยเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัวของผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พร้อมสำรวจความเสียหายผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรีได้ลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนี้อย่างใกล้ชิดแล้ว
ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก สำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรี ว่า จากการลงพื้นที่และตรวจสอบด้านการทำประกันภัย เบื้องต้นพบว่า สถานบริการ “เม้าส์เทน บี MountainB” ไม่ได้ทำประกันภัยไว้ ในส่วนของผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 14 ราย มีการทำประกันภัยจำนวน 4 ราย ไว้กับบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) วงเงินเอาประกันภัยรวม 4,760,000 บาท
สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บ 33 ราย โดยเบื้องต้นตรวจสอบพบมีการทำประกันภัยจำนวน 14 ราย ไว้กับบริษัท ทีไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) วงเงินเอาประกันภัยรวม 12,993,733 บาท สำหรับการติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ สำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรีได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้แล้ว โดยมีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัย ตั้งอยู่ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัต**บ จังหวัดชลบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งการรับแจ้งเรื่องการทำประกันภัย ตรวจสอบข้อมูลและเอกสารการทำประกันภัย และติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อใช้ระบบประกันภัยเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัวของผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้มีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ
“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่ประสบเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้ แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงฝากเตือนมายังผู้ประกอบการสถานบันเทิง ควรให้ความสำคัญกับการทำประกันอัคคีภัยหรือการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินภายในสถานประกอบการ รวมถึงการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ประกอบการมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่น เพื่อที่ระบบประกันภัยเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสำนักงาน คปภ.จะเร่งรัดให้มีการเยียวยาด้านประกันภัยเพื่อบรรเทาความสูญเสียและความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยด้านประกันภัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือLine Chatbot@Oicconnect ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
คปภ. คว้าระดับ AA สูงสุดที่ 96.51 คะแนน เป็นปีที่สองติดต่อกัน ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี 2565
คปภ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีสะพานกลับรถพังถล่ม ย่านถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร โดยระบบประกันภัยพร้อมเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างการปิดซ่อมบำรุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่บนถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน และทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 นั้น เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับสายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ ตรวจสอบการทำประกันภัยพร้อมเร่งอำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัย ตลอดจนติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้ลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัว เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อร่างกายและทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ พบว่า
1. รถยนต์เก๋ง ทะเบียน ชธ 6271 กรุงเทพมหานคร ถูกแผ่นปูนความยาวกว่า 10 เมตร น้ำหนักราว 5 ตัน หล่นลงมาทับทั้งคันจนรถขาดท่อน ผู้โดยสารเสียชีวิตติดอยู่ภายในรถยนต์ 1 ราย ส่วนคนขับได้รับบาดเจ็บ 1 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยคุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-500,000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน นอกจากนี้ยังได้ทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิตร่างกายหรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จำนวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จำนวนเงิน 5,000,000 บาทต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้าย กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จำนวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้โดยสารกรณีเสียชีวิต 100,000 บาทต่อคน
2. รถกระบะ ทะเบียน 3 ฒธ 5940 กรุงเทพมหานคร ด้านหน้ารถถูกแผ่นปูนทับ มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566 และทำประกันภัยภาคสมัครใจ (ประเภท 1) ไว้กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566
3. รถยนต์บรรทุกน้ำมัน ทะเบียน 70-9316 พระนครศรีอยุธยา ทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 และทำประกันภัยภาคสมัครใจ ไว้กับบริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จำนวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จำนวนเงิน 10,000,000 บาท ต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้ายกรณีเสียชีวิตสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จำนวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้โดยสารกรณีค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาทต่อคน
4. คนงานก่อสร้างสะพานดังกล่าว เสียชีวิต 1 ราย โดยทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 23 ธันวาคม 2564 สิ้นสุดวันคุ้มครองวันที่ 22 ธันวาคม 2565
โดยความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จำนวน 100,000 บาท และการรักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งจำนวน 5,000 บาท
สำหรับการติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ สำนักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในครั้งนี้แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการการทำงานร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุครั้งนี้มีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ
“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและมีความห่วงใยต่อผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และพร้อมจะดูแลในด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน จึงควรให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย โดยเฉพาะการประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) การประกันภัยรถภาคสมัครใจ และการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
คปภ. ลงพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถทัวร์นักท่องเที่ยว “ชาวขอนแก่น-กาฬสินธุ์” ประสบอุบัติเหตุในประเทศลาว
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถทัวร์ หมายเลขทะเบียน บก 1499 สะหวันนะเขต ซึ่งจ้างเหมาโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด 789 รุ่งเรือง (กาฬสินธุ์) เพื่อพานักท่องเที่ยวชาวไทยจากจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดขอนแก่น จำนวน 24 คน เดินทางกลับจากการท่องเที่ยวที่จังหวัด เว้ห์ ดานัง ฮอยอัน ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคกลางของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยรถแล่นมาตามถนนหมายเลข 9 ใกล้กับโรงงานน้ำตาล บ้านเหลียนไช เมืองอาจสะพังทอง แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกิดอุบัติเหตุชนประสานงากับลูกพ่วงของรถบรรทุกพ่วงอย่างแรง เป็นเหตุทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเสียชีวิต 3 ราย นักท่องเที่ยวชาวลาว 2 ราย นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 1 ราย และมีนักท่องเที่ยวชาวไทยบาดเจ็บจำนวน 18 ราย โดยถูกนำส่งเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมุกดาหาร เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 นั้นเบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับสายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 5 (อุบลราชธานี) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดมุกดาหาร ตรวจสอบการทำประกันภัยพร้อมเร่งอำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัย ตลอดจนติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้ลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัว เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด 789 รุ่งเรือง (กาฬสินธุ์) ทำประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (แบบพิเศษ) ไว้กับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 สิ้นสุดวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 โดยกรมธรรม์ดังกล่าว มีความคุ้มครองจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพสิ้นเชิง อบ. 1 จำนวน 1,000,000 บาท และการค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งต่อคน ต่อระยะเวลาเดินทางไม่เกินวงเงิน จำนวน 500,000 บาท สำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้ง 3 ราย ในเบื้องต้นครอบครัวผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 1,000,000 บาท ในส่วนของผู้บาดเจ็บ 18 ราย ที่ถูกนำส่งเข้ารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลมุกดาหาร เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. จังหวัดมุกดาหาร ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลดังกล่าว พร้อมประสานบริษัทเมือง ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่ออำนวยความสะดวก และรับรองสิทธิค่ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล โดยผู้บาดเจ็บไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาตัวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการการทำงานร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุครั้งนี้มีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ
ในส่วนของผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2 ราย และจังหวัดกาฬสินธุ์ 1 ราย ทางสำนักงาน คปภ. จังหวัดมุกดาหาร ได้ประสานไปยังสำนักงาน คปภ. จังหวัดขอนแก่น และสำนักงาน คปภ.จังหวัดกาฬสินธุ์ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่ดังกล่าว ลงพื้นที่อำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิต และเร่งประสานบริษัทประกันภัยเพื่อพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างเร่งด่วน สำหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว 2 ราย และนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 1 ราย ที่เสียชีวิต ได้ประสานบริษัทฯ เพื่อตรวจสอบสิทธิว่าจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์หรือไม่ต่อไป
“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและมีความห่วงใยต่อผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และพร้อมจะดูแลในด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงหน้าฝน อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด จึงขอให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทำประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายแบบ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย