ข่าว

“เริ่มแล้ว มหกรรมด้านประกันภัย Thailand InsurTech Fair ครั้งแรกในไทย เปิดงานยิ่งใหญ่ ผ่านระบบ Virtual เพื่อบริการผลิตภัณฑ์ประกันภัย จากบริษัทชั้นนำ ในราคาลดสุดพิเศษแก่ประชาชน”

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
26 October 2564

“เริ่มแล้ว มหกรรมด้านประกันภัย Thailand InsurTech Fair ครั้งแรกในไทย เปิดงานยิ่งใหญ่ ผ่านระบบ Virtual เพื่อบริการผลิตภัณฑ์ประกันภัย จากบริษัทชั้นนำ ในราคาลดสุดพิเศษแก่ประชาชน”    

 
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวปาฐกถาและเป็นประธานในงานมหกรรมด้านประกันภัย“Thailand InsurTech Fair 2021” แบบ Virtual ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งภายในงานมีผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัย ด้านการเงิน แบบครบวงจร บริการด้วยเงื่อนไขพิเศษจากบริษัทชั้นนำด้านประกันภัยของประเทศ และอัพเดทความรู้-นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ โดยสำนักงาน คปภ. ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2564 
 
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน ความท้าทายที่จะยังคงอยู่ภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คคลี่คลาย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ภายหลังยุคโควิด คือ ผู้คนและภาคธุรกิจมีการพึ่งพาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก การทำธุรกรรมออนไลน์ หรือการทำงานจากที่บ้าน กลายเป็นสิ่งธรรมดาในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้สามารถติดต่อ และให้บริการลูกค้า รวมถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการเติบโตของเทคโนโลยี หรือ Technology Disruption ที่ส่งผลให้การแข่งขัน การดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ความท้าทายหลักที่ถือเป็น Mega Trend ที่ทุกภาคส่วนยังคงต้องตระหนักถึงและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ได้แก่ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ที่นับเป็นอีกความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว และการรับมือกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะก่อให้เกิดความสูญเสียในเชิงเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งหากมีการนำกลไกของการประกันภัยมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการประกันภัยสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกเหนือไปจากการบริหารความเสี่ยงในภาคเกษตรกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากแล้ว ด้านการคมนาคมก็ถือเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญ ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและเพียงพอเช่นกัน อาทิ สนามบิน รถไฟ รวมถึงการจัดทำประกันภัยสำหรับทรัพย์สินของทางราชการและโครงการของรัฐ เพื่อสนับสนุนให้ให้ภาครัฐมีการบริหารความเสี่ยงภัยอย่างเป็นระบบและครบวงจร
 
นอกจากนี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ได้บรรยายพิเศษหัวข้อ Future Regulations Landscape: Creating your New Opportunities ถึงแนวทางในการปรับตัวของภาคธุรกิจประกันภัยภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงแนวโน้มรูปแบบธุรกิจ (Business Model Transformation) ที่เปลี่ยนแปลง คือ  1) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Digitalization) เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เพื่อให้เกิด Digital transformation ในอุตสาหกรรมประกันภัย และการร่วมมือกับพันธมิตร (Partnering with Tech Firms) เพื่อเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Enhancing Competitiveness) 2) การส่งเสริมเชิงพาณิชย์ (Commercial) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวจากภาวะวิกฤต และส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทประกันภัย โดยคำนึงถึงความแตกต่างของขนาดและความพร้อมของบริษัท 3) คนกลางประกันภัย (Intermediaries) ควรส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเสนอขาย และปรับเปลี่ยนบทบาทของคนกลางประกันภัยในรูปแบบการให้คำแนะนำ (Advice-led model) และมีการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้สำหรับคนกลางประกันภัย 4) ความยั่งยืน (Sustainability) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการดำเนินธุรกิจและการลงทุน ที่สะท้อนแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) อย่างเป็นรูปธรรม 5) และสุดท้าย คือ การกำกับดูแล (Supervision) เร่งปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับให้เท่าทันความเสี่ยงใหม่ๆ และปรับกฎเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นเป็น Principle-Based Supervision และสอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลตามมาตรฐานสากล
 
“การเข้าร่วมพิธีเปิดในวันนี้ สามารถรับชมได้ในช่องทาง www.tif2021.com Facebook PR OIC และทีวีดิจิทัลทาง ช่อง 9 Mcot (ช่อง 30) ทั้งนี้นอกจากบุคลากรในแวดวงประกันภัยแล้ว บุคคลทั่วไปไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นิสิตนักศึกษา หรือผู้ที่ต้องการหาความรู้ด้านประกันภัยหรือด้านเทคโนโลยี หรือผู้ที่สนใจเข้าสู่วิชาชีพด้านประกันภัย หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ             ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยราคาพิเศษ ห้ามพลาดงาน Thailand InsurTech Fair โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถทำการลงทะเบียน ผ่าน www.tif2021.com ได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนคนเข้างาน แล้วพบกันนะครับ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

รับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อช่วยปฏิบัติงานกลุ่มคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และกลุ่มบริการและสื่อสารข้อมูลประกันภัย 8 อัตรา

< >
วันที่เผยแพร่: 
25 October 2564

รับสมัครตั้งแต่วันที่ 25-28 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น.

ไฟล์ต่างๆ: 
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ส่ง SMS ถึงผู้เอาประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่อให้สามารถใช้สิทธิผ่าน Web Application ในการขอคืนเบี้ยประกันภัย หรือเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ได้รวดเร็วขึ้น

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
22 October 2564

คปภ. ส่ง SMS ถึงผู้เอาประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่อให้สามารถใช้สิทธิผ่าน Web Application ในการขอคืนเบี้ยประกันภัย หรือเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ได้รวดเร็วขึ้น

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1936/2564 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 2/2564 แต่งตั้งให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป นั้น
 
เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เอาประกันภัยได้ทันที สำนักงาน คปภ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) ได้พัฒนา Web Application ชื่อ “ระบบแจ้งข้อมูลและสิทธิกรณีบริษัท ประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)” และได้แจ้งข้อมูลไปยังผู้เอาประกันภัยผ่าน SMS ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้จากระบบของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)  เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมตามขั้นตอนและสิทธิต่าง ๆ ผ่านช่องทาง Web Application ดังนี้ กรณีที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ให้ผู้เอาประกันภัยยื่นขอทวงหนี้ที่กองทุนประกันวินาศภัย หรือสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ กรณีที่ 2 ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่       ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกใช้สิทธิตามที่ระบุไว้ กรณีที่ 3 ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกใช้สิทธิตามที่ระบุไว้เช่นกัน ซึ่งมี 19 บริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถเข้าไปใช้งาน Web Application ดังกล่าวผ่านช่องทางเว็บไซต์สำนักงาน คปภ. และ Chatbot “คปภ. รอบรู้”(LINE : @OICConnect) และสำนักงาน คปภ. จะรวบรวมข้อมูลจากผู้เอาประกันภัยที่แจ้งข้อมูลเพื่อส่งให้กองทุนประกันวินาศภัยดำเนินการต่อไป โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะแจ้งเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
 
“การส่ง SMS และการทำรายการผ่านช่องทาง Web Application ดังกล่าว จะไม่ทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิที่พึงมีตามสัญญาประกันภัยแต่อย่างใด โดยเป็นการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้เอาประกันภัยเพื่อให้กระบวนการชำระหนี้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

ประกาศผลการตัดสินการประกวดผลงานนักเรียนตามโครงการอัจฉริยะยุวชนประกันภัย ประจำปี พ.ศ.2564 ระดับเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (เทียบเท่าระดับจังหวัด)

ประกาศการรับสมัครลูกจ้างเหมาบริการ กลุ่มงานคดี

< >
วันที่เผยแพร่: 
18 October 2564
หมวดหมู่ข่าว: 

รมว.คลัง มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) แล้ว

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
15 October 2564
รมว.คลัง มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) แล้ว • เลขาธิการ คปภ. เผยร่วมบูรณาการตั้งศูนย์ทั่วประเทศให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวก แก่ผู้เอาประกันภัยอย่างเต็มที่ และกองทุนประกันวินาศภัยเข้ารับช่วงจ่ายเคลมประกัน เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไม่สะดุด
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) แจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1936/2564 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยครั้งนี้ เป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย โดย สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ภายใต้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์สูงสุดของประชาชน พร้อมทั้งขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุประกอบการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนเดือดร้อน ดังนี้
1. เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัทฯ มีฐานะการเงินไม่มั่นคงจากการดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตาม ที่กฎหมายกำหนด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน สภาพคล่องไม่เพียงพอต่อการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า และเสนอขายกรมธรรม์ไม่เป็นไปตามแบบและข้อความที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน จึงเป็นกรณีที่บริษัทฯ มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะและการดำเนินการตามที่นายทะเบียนกำหนด และให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว โดยสำนักงาน คปภ. ได้เข้าควบคุมธุรกรรมการเงินเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระหว่างที่มีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวและอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาตามคำสั่งฯ จะไม่มีการโยกย้ายทรัพย์สิน หรือมีการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2564
2. เมื่อให้ระยะเวลาบริษัทฯ แก้ไขฐานะการเงินและการดำเนินการตามคำสั่งนายทะเบียนแล้ว ได้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อนายทะเบียนว่า บริษัทฯ มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้างจำนวนมาก ซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการสินไหมทดแทนได้ และจากการที่สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามความคืบหน้าจากบริษัทฯ เกี่ยวกับการเพิ่มทุนหรือฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพัน พบว่า บริษัทฯ ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มทุนหรือการแก้ไขฐานะการเงินของบริษัทฯ และไม่ปรากฏว่าบริษัทฯ มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแก้ไขฐานะการเงินของบริษัทฯ รวมทั้งไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการร่วมทุนจากผู้ร่วมทุนรายอื่น ส่งผลให้บริษัทฯ มีฐานะการเงินที่ไม่มั่นคง ประกอบกับบริษัทฯ มีการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ทำให้บริษัทฯ ไม่มีความพร้อมและความสามารถในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ อีกทั้งบริษัทฯ มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการ จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ถ้าให้บริษัทฯ ประกอบธุรกิจประกันภัยจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน คณะกรรมการ คปภ. ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 วันที่ 8 ตุลาคม 2564 จึงมีมติให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทฯ มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน มีฐานะการเงินไม่มั่นคงไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของบริษัทฯ ได้ภายในระยะเวลาที่สมควร ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันภัยได้ต่อไป ถ้าให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป และหากบริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้ มีสิทธิเสนอคำฟ้องยื่นต่อศาลปกครองกลางภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
4. เมื่อรัฐมนตรีฯ มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) แล้ว คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ซึ่งได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่งตั้งให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ชำระบัญชี
5. การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัทฯ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวม ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบไว้แล้ว ดังนี้
5.1 บูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) และบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 13 บริษัท ดังนี้
(1) ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายและได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัทฯ แล้ว ให้ติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันภัยวินาศภัยจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดแทนไว้แล้วเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไม่สะดุด
(2) ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัทฯ ให้ยื่นเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
(3) ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภท สามารถที่จะดำเนินการในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ดังนี้
- ขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัย ให้ตามส่วนระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่ หรือ
- นำเบี้ยประกันภัยที่จะได้รับคืนไปใช้แทนเงินสดในการเลือกซื้อประกันภัยได้จากบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการ ได้ทุกประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
(4) ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถนำเบี้ยประกันภัย ไปซื้อความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะภาวะโคม่า ในวงเงินความคุ้มครอง 300,000 บาท เบี้ยประกันภัย 300 บาท หรือนำเบี้ยประกันภัยไปซื้อความคุ้มครองกับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มอีก 10% ของกรมธรรม์ใหม่ แต่ไม่เกิน 500 บาท ยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
5.2 จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวกในการรับคำขอรับชำระหนี้ รวมทั้งการสนับสนุนบุคลากรในการรับคำขอรับชำระหนี้ ทั้งที่สำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและสำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้บริการแก่ ผู้เอาประกันภัยและประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
5.3 จัดเตรียมสถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนี้
(1) กองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 11-15 และ 21-24
(2) สำนักงาน คปภ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทุนประกันวินาศภัยทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรับเอกสารหลักฐานการขอรับชำระหนี้แล้วส่งต่อให้กองทุนประกันวินาศภัยต่อไป โดยผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นได้ทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ดังนี้
ส่วนกลาง ยื่นได้ ๓ แห่ง ดังนี้
- สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง เลขที่ 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2515-3999 หรือ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ chatbot “คปภ. รอบรู้” (LINE@OICConnect)
- สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3
- สำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70
ส่วนภูมิภาค สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ
5.4 สำนักงาน คปภ. ได้พัฒนา Web Application โดยเฉพาะขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เอาประกันภัยได้รวดเร็วขึ้น โดยระบบจะแจ้งข้อมูลไปยังผู้เอาประกันภัยทางออนไลน์
5.5 บูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย จัดเตรียมหมายเลขโทรศัพท์รวม 47 คู่สาย เพื่อตอบข้อซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยจะเพิ่มเป็น 100 คู่สาย ในระยะถัดไป
หากเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัทฯ ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทฯ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) และหากเป็นเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้นำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทฯ
“การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายตั้งแต่ให้บริษัทฯ หยุดรับประกันวินาศภัยชั่วคราวตามมาตรา 52 พนักงานเจ้าหน้าที่ของ คปภ. ที่เข้าไปประจำ ณ ที่ทำการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการควบคุมการเบิกจ่ายเงินตามที่จำเป็น และเร่งเคลียร์ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยและเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยเป็นอันดับแรก ทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้กว่า 13,000 ราย เป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ ก็ยังไม่เพียงพอที่จะดูแลค่าเคลมที่ทยอยเข้ามาเรื่อย ๆ ได้ และบริษัทฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะการเงินได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อให้กองทุนประกันวินาศภัยเข้ามาดูแล โดยใช้เงินกองทุนฯ เยียวยาผู้เอาประกันภัย ซึ่งท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สั่งการให้ดูแลประชาชนให้เต็มที่ โดยหลังจากเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว กองทุนประกันวินาศภัยจะรับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันกับบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชน โดยโอนให้กับบริษัทประกันภัยแห่งอื่นรับผิดชอบต่อ นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยโควิด-19 โดยเฉพาะขึ้น เพื่อรองรับผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์ความคุ้มครองโควิด-19 ต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการคุ้มครองดูแล โดยสำนักงาน คปภ. จะบูรณาการร่วมกับกองทุนประกันวินาศภัยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย ช่วยบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเต็มที่ และพร้อมน้อมรับทุกคำชี้แนะในการดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน สำหรับรายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการ สามารถดูได้ จากเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th) หรือสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

หมวดหมู่ข่าว: 

สมัครลูกจ้างเพื่อดำเนินโครงการ “จ้างเหมาบริการบุคคลภายนอก เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านเอกสารไล่เบี้ยเรียกคืน” จำนวน 10 อัตรา

ประกาศผลการคัดเลือกอาสาสมัครประกันภัยดีเด่น ระดับประเทศ โครงการอาสาสมัครประกันภัย ประจำปี พ.ศ.2564

คปภ. ชี้แจงการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปประจำ ณ ที่ทำการบริษัท เอเชียประกันภัย ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย โปร่งใส และเป็นกลาง โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน

< >
วันที่เผยแพร่: 
01 October 2564

คปภ. ชี้แจงการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปประจำ ณ ที่ทำการบริษัท เอเชียประกันภัย   ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย โปร่งใส และเป็นกลาง โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 มีผู้เอาประกันภัยจำนวนหนึ่งมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยโควิด-19 ณ ที่ทำการบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และมีการให้ข่าวว่าการที่สำนักงาน คปภ. เข้าไปดำเนินการตามคำสั่งนายทะเบียน เป็นการเข้าไประงับการจ่ายเงินของบริษัท นั้น 
 
ทั้งนี้ ขอเรียนชี้แจงว่าการเข้าไปดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ คปภ. ตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว ไม่ได้เป็นการระงับการจ่าย แต่เป็นการเข้าไปเพื่อควบคุมการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและเป็นไปตามกำหนดนัดที่บริษัทได้แจ้งไว้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งในการให้ความเห็นชอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทต้องเป็นผู้รวบรวมรายการค่าสินไหมทดแทนให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นชอบ โดยตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2564 คือวันแรกที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กำชับให้บริษัทเร่งนำส่งรายการค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 คงค้างที่มีจำนวนมาก แต่จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 บริษัทก็ยังส่งข้อมูลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ครบถ้วน โดยส่งข้อมูลเพียง 2,232 ราย และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เห็นชอบการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนครบแล้วทั้ง 2,232 ราย พร้อมทั้งได้ส่งข้อมูลรายการการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวไปยังธนาคารเพื่อดำเนินการโอนเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์แล้ว ต่อมาสำนักงาน คปภ. ได้ทราบข้อมูลในภายหลังว่า บริษัทนัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้กว่า 3,000 ราย ซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลที่สำนักงาน คปภ. ได้รับรายงานจากบริษัทในครั้งแรก ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้แทนบริษัทได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เอาประกันภัยที่มาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยโควิด-19 ณ ที่ทำการบริษัท ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรายที่บริษัทยังไม่ได้นำส่งข้อมูลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เร่งรัดให้บริษัทนำส่งรายการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคงค้างให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นชอบการจ่ายภายในวันดังกล่าว และกำชับให้บริษัทจัดการสภาพคล่องให้เพียงพอกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่จะเกิดขึ้น
จากการติดตามผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ได้รับแจ้งจากผู้เอาประกันภัยว่าเงินได้ทยอยโอนเข้าบัญชีของผู้เอาประกันภัยที่มาเรียกร้องแล้ว  
 
“ขอยืนยันว่าการเข้าควบคุมบริษัทตามคำสั่งฯ ดังกล่าว เป็นไปเพื่อดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยอย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสน สำนักงาน คปภ. ได้กำชับบริษัทให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสื่อสารถึงผู้เอาประกันภัยให้ถูกต้อง เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีก นอกจากนี้ จะเพิ่มจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเร่งกระบวนการการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยได้สั่งการให้บริษัทนำส่งรายการค่าสินไหมทดแทนคงค้าง พร้อมจัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ คปภ. ว่าจะไม่ทำให้กระบวนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า แต่จะเป็นการช่วยให้การดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง โดยยึดประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ติดต่อได้         ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. สมาคมศิษย์เก่า วปส. พร้อมภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ร่วมสานหัวใจบริจาควัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและผู้พิการ

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
30 September 2564

คปภ. สมาคมศิษย์เก่า วปส. พร้อมภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ร่วมสานหัวใจบริจาควัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและผู้พิการ 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ได้เป็นประธานในพิธีมอบวัคซีนต้านโควิด-19 เพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับกลุ่มเปาะบางและผู้พิการทั่วประเทศ โดยมีนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย และนายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย พร้อมด้วยอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (สวปส.) ตลอดจนผู้บริหารบริษัทประกันภัยและคณะผู้บริหารของสำนักงาน คปภ. ร่วมส่งมอบวัคซีนซิโนฟาร์ม ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชนโดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเปราะบาง อาทิ คนชรา ผู้ที่มีโรคประจำตัว สตรีมีครรภ์ และกลุ่มผู้พิการ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จึงควรจะต้องได้รับจัดสรรเป็นกลุ่มแรก ๆ และประสงค์ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน เนื่องจากกลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้เปราะบาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายและอาจมีอาการที่รุนแรง รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตสูง จึงควรเร่งให้เข้าถึงและได้รับวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับบุคคลและภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วย “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว” โดยบูรณาการความร่วมมือกับสมาคมศิษย์เก่าสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (สวปส.) ภาคธุรกิจประกันภัย รวมทั้งพนักงานในองค์กรของสำนักงาน คปภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคระดมเงินบริจาค ในการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 10,000 ราย (20,000 โดส) เพื่อจัดสรรให้กับประชาชนกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางสำหรับการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งการจัดหาสถานที่และบุคลากรทางการแพทย์ในการให้บริการฉีดวัคซีนกว่า 30 แห่งใน 18 จังหวัด ภายใต้โครงการความร่วมมือ “ประกันภัยรวมใจมอบวัคซีนต้านโควิดสู่ประชาชน” ทั้งนี้ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายไปแล้ว จำนวน 7,196 คน คิดเป็นร้อยละ 71.96 โดยได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเปราะบางวันแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา และในวันนี้ได้มีกลุ่มเปราะบางประมาณ 60 คน มารับวัคซีนเข็มแรกที่สำนักงาน คปภ. โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเกษมราษฎร์มาบริการฉีดวัคซีน สำหรับการฉีดวัคซีนส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการโดยมีแผนฉีดวัคซีนแล้วเสร็จในต้นเดือนตุลาคม 2564 นอกจากนี้ เงินบริจาคส่วนที่เหลือจะนำไปจัดสร้างห้อง Negative Pressure  เพื่อมอบให้โรงพยาบาลกุยบุรี และโรงพยาบาลที่ประจวบคีรีขันธ์ 
 
“โครงการนี้สามารถระดมเงินบริจาคและวัคซีน รวมทั้งบริหารจัดการหากลุ่มเป้าหมายและจัดฉีดวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เวลาดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเพราะได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทสรรพกำลังในการดูแลพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่เป็นช่องทางให้เราได้ร่วมกันบริจาควัคซีน รวมทั้งสมาคมศิษย์เก่าสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (สวปส.) ภาคธุรกิจประกันภัย และพนักงานของสำนักงาน คปภ. ที่ร่วมแรงร่วมใจบริจาคเงินเพื่อจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย นำไปสู่การแบ่งปันสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้พิการ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่ และเป็นที่ชัดเจนว่าวัคซีนคือทางออกที่จะทำให้กลับมาใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ได้ และช่วงนี้เป็นช่วงรอยต่อระหว่างที่รอวัคซีนที่ภาครัฐจัดหากำลังทยอยเข้ามา แต่ยังมีประชาชนหลายกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ จึงหวังว่าโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้ภาคธุรกิจหรือหน่วยงานที่มีศักยภาพช่วยจัดหาวัคซีนทางเลือกเพื่อมาฉีดให้กับประชาชนกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ และเมื่อประชาชนทั่วประเทศได้รับวัคซีนครบถ้วน ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้กับประเทศไทยสามารถก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปได้” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
หมวดหมู่ข่าว: 

Pages

Subscribe to RSS - ข่าว