ข่าว

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อจัดจ้างเป็นลูกจ้างกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “เดอะ วัน ประกันภัย” หยุดรับ ประกันวินาศภัยชั่วคราว

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
01 December 2564

บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่งเดอะ วัน ประกันภัยหยุดรับ ประกันวินาศภัยชั่วคราว 

สั่งให้เร่งแก้ไขฐานะการเงินภายในกำหนด คุมเข้มห้ามรับลูกค้ารายใหม่ ต้องจ่ายเคลมลูกค้ารายเดิมตามปกติ 

เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนอย่างเต็มที่

 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ ได้ปรากฏพฤติการณ์และหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินไม่มั่นคง โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรสินทรัพย์หนุนหลัง ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งปรากฏหลักฐานว่าบริษัทไม่มีเจตนาที่จะแก้ไขฐานะการเงินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ตามภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย และยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้าง

จำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อฐานะและการดำเนินการของบริษัท นอกจากนี้ยังมีการกระทำการอันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยประกาศปิดทำการ โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากเข้าไปติดต่อ ที่ทำการบริษัท แต่ไม่ได้รับการบริการใด จากบริษัทจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว นายทะเบียนจึงเห็นว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามการแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการของบริษัทให้เป็นไปอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งการติดตามความมั่นคงทางการเงินและธุรกรรมการดำเนินงานที่ถูกต้องโปร่งใส อันจะทำให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย .. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม .. 2564 นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของ บอร์ด คปภ. จึงมีคำสั่งให้บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

2. แก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพัน และให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง

3. ให้บริษัทเปิดทำการติดต่อกับประชาชนทุกวันตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเปิดทำการติดต่อกับประชาชนฯ

4. จัดทำรายงานสรุปรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เช่น หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย จำนวนเงินที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และจัดส่งรายงานให้สำนักงาน คปภ. ทุกวันทำการนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง และให้บันทึกรายการในสมุดทะเบียน สมุดบัญชี คำนวณและดำรงเงินสำรองประกันภัย   ให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย

5. เร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

6. ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตาม ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ทุกวันทำการ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย .. 2535 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทตามปกติ สำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด รวมถึงบริษัทต้องรายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของบริษัทภายในระยะเวลานายทะเบียนกำหนด

นอกจากนี้ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานตามคำสั่งนายทะเบียนได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีการดำเนินการที่อาจเข้าข่ายการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพิ่มเติม หรือนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าหากรอให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดข้างต้นอาจก่อให้เกิดความเสียหาย  ต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยดำเนินการตามมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ต่อไป

 

การออกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวจะช่วยให้สำนักงาน คปภ. สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนได้เต็มที่ และตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดการจ่ายเงินของบริษัท ที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถเข้าไปควบคุมการจ่ายเงินต่าง ของบริษัทได้ทั้งหมด และจัดการเคลียร์ปัญหาการจ่าย       ค่าสินไหมทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้สั่งการไปยังสายตรวจสอบ สายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ตลอดจนสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ ตรวจสอบสาขา/สำนักงานตัวแทนของบริษัท ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบและให้ดำเนินการแจ้งการสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท/ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย         ขายกรมธรรม์รายใหม่ในระหว่างการหยุดรับประกันภัย พร้อมทั้ง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำที่บริษัทอย่างเต็มพิกัด เพื่อควบคุมให้บริษัทดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หากพบว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ก็จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในระดับที่เข้มข้นยิ่งขึ้นต่อไป สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท สำนักงาน คปภ. จะตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หากพบว่ามีการกระทำความผิดจะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ติดต่อได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ www.oic.or.th” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ชี้แจง กรณีบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ประกาศปิดปรับปรุงชั่วคราว

< >
วันที่เผยแพร่: 
29 November 2564

คปภ. ชี้แจง กรณีบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ประกาศปิดปรับปรุงชั่วคราว 

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า กรณีบริษัท เดอะ วันประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลงประกาศว่าบริษัทอยู่ระหว่างปิดปรับปรุงชั่วคราว ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อดำเนินการเสริมสภาพคล่อง นั้น สำนักงาน คปภ. ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกและยืนยันว่าตอนนี้บริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีการปิด หรือหยุดประกอบการ โดยสำนักงาน คปภ. จะติดตามกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ได้ส่งทีมงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สายกฎหมายและคดี สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์  สายตรวจสอบ และสายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย เข้าไปตรวจสอบและกำกับอย่างใกล้ชิดแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน รวมถึงดูการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเรื่องการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยแล้ว นอกจากนี้ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 สำนักงาน คปภ. จะเชิญผู้บริหารของบริษัท เข้ามาชี้แจงและสอบถามถึงแผนการเพิ่มทุน และแผนการดำเนินมาตรการผ่อนปรนของสำนักงาน คปภ. รวมถึงแผนการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป ส่วนจะบังคับตามมาตรการทางกฎหมายถึงขั้นจะให้หยุดดำเนินการหรือไม่ ต้องดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อน โดยขณะนี้ ยังไม่มีการสั่งให้หยุดการรับประกันภัย และไม่ได้สั่งให้มีการหยุดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด เพราะการจะดำเนินการดังกล่าวต้องมีขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบที่ชัดเจน โดยสำนักงาน คปภ. จะยึดถือประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหากบริษัทไปหยุดทำการเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คปภ. ก็ถือว่ามีความผิด และมีบทลงโทษ รวมทั้งหากบริษัทดำเนินการใดๆ ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
 
“ดังนั้นขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าสำนักงาน คปภ. พร้อมดูแลประชาชาชน ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนประชาชนที่มีปัญหาเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท หรือการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า สามารถร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ.ได้ ซึ่งได้มีการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนประกันภัยโควิด-19 โดยเฉพาะไว้แล้ว โดยสำนักงาน คปภ. พร้อมดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2021 ระดมความคิดเห็นภาคธุรกิจประกันภัยมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
28 November 2564

คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2021 ระดมความคิดเห็นภาคธุรกิจประกันภัยมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน 

• ผุด 4 Hack the Future เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ที่ท้าทายของภาคธุรกิจประกันภัย พร้อมข้อสรุปร่วมกันของ 3 ที่ประชุมกลุ่มย่อย เพื่อสร้างการทำประกันภัยอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน
 
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษและเปิดการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2564 (CEO Insurance Forum 2021) ภายใต้ Theme ของการประชุมคือ “Navigating the Future of Thai Insurance to cope with COVID-19 and New Emerging Risks” ในรูปแบบเสมือนจริง Virtual meeting ผ่านระบบ Zoom เพื่อเป็นเวทีสื่อสารทิศทางและนโยบายในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัย และผู้เกี่ยวข้องอีกทั้ง เป็นการแสดงศักยภาพของการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจประกันภัย
 
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ระบบประกันภัยกับการขับเคลื่อนการฟื้นตัวและรองรับความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจและสังคม” โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า บริบทของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของคนในสังคม การดำเนินการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์ของโควิด-19 อาทิ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน คือ เป้าหมายสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเน้นย้ำให้สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย บูรณาการร่วมมือเพื่อผลักดันให้การประกันภัยเข้าไปมีบทบาทใน 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1) การส่งเสริมให้การประกันภัยเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 2) การปรับตัวด้านดิจิทัล และ 3) ยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ควบคู่กับการสร้างความรู้ด้านการประกันภัยแก่ประชาชน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลและภาคธุรกิจประกันภัยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับบริบทใหม่ภายใต้ความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบประกันภัยให้ก้าวหน้า             มีเสถียรภาพและเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน 
จากนั้น เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยยุคใหม่” โดยฉายภาพทิศทางนโยบายของสำนักงาน คปภ. ที่ขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยในปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างยิ่ง ทั้งสภาพเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้ง เป็นปีแรกที่ขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจประกันภัย ภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564 - 2568) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ระบบประกันภัยไทย มีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนเข้าถึงการประกันภัยและใช้ประโยชน์ในการรองรับความเสี่ยง” พร้อมทิ้งท้ายด้วยหลัก 4 ประการ Hack the Future เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ที่ท้าทายของภาคธุรกิจประกันภัย ดังนี้ 1) นำเทรนด์มากกว่าตามเทรนด์ ผลักดันกลยุทธ์ในเชิงรุกเพื่อปรับเปลี่ยน model การประกอบธุรกิจ และปรับตัวให้เร็วกว่า 2) เทคโนโลยีก้าวไกล ก้าวทัน Digital Disruption และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในธุรกิจ            3) คิดให้สุด ไม่หยุดลงมือทำ ต้องคิดแบบ forward Looking และทำจนกว่าจะสำเร็จ และ 4) เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส “COVID-19 = Opportunity” การเรียนรู้และปรับตัวเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลง
สำหรับการประชุม CEO Insurance Forum  สำนักงาน คปภ. ได้ริเริ่มจัดงานมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเป็นเวทีในการสื่อสารทิศทางและนโยบายระหว่างสำนักงาน คปภ. กับภาคธุรกิจประกันภัย ภาคส่วนสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะนำมาพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อไปในอนาคต โดยในปีนี้มี Highlight ที่สำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายระดมความคิดเห็น เพื่อกลั่นกรองสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โดยแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มย่อยที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจประกันภัย” โดยประธานกลุ่ม 1 นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ มีประเด็นหลักในการประชุม คือ การพัฒนาระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจประกันภัย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ควบรวมเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันภัยได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงหารือเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย (Insurance Bureau System หรือ IBS) ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูลด้านการประกันภัย และการวิเคราะห์ข้อมูลการประกันภัย 
ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันและเห็นว่าสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป มีดังนี้
1. เห็นชอบร่วมกันในการดำเนินการตาม Roadmap ในเรื่องต่าง ๆ คือ 1) ข้อมูล IBS และนำข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล IBS มาดำเนินการเพื่อสร้างประโยชน์ใน 3 ส่วน คือ การทำ Data Analytics การเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูล IBS กับฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย และการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ 2) OIC gateway ในปี 2565 จะดำเนินการต่อยอดจาก Phase 1 เพื่อสร้างประโยชน์ใน 2 มิติ คือ มิติประชาชน จะต่อยอดโดยนำ AI มาวิเคราะห์ประมวลผล และมิติภาคธุรกิจประกันภัย จะสามารถเสนอขายประกันภัยให้กับลูกค้า โดยมีความคุ้มครองไม่ซ้ำซ้อนกับที่เอาประกันภัยไว้แล้ว และ 3) การศึกษารูปแบบการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริหารและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันภัยแห่งชาติ (National Insurance Bureau) เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง   ที่มีหน้าที่ในการรวบรวม รักษากำกับดูแล และวิเคราะห์ข้อมูล IBS ต่อไป 
2. การจัดตั้งคณะทำงานร่วม ระหว่างสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อร่วมพิจารณาประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจประกันภัย 
กลุ่มย่อยที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “การยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการประกันภัยอย่างยั่งยืน” โดยประธานกลุ่ม 2 นายชนะพล มหาวงษ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ มีประเด็นหลักในการประชุม คือ แนวทาง  การดำเนินการในระยะสั้น เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วน โดยออกมาตรการรองรับทางกฎหมาย เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย รวมถึงแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินการในระยะยาว เพื่อยกระดับระบบประกันภัยสุขภาพมีความมั่นคงและยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ประชาชน และภาคอุตสาหกรรมประกันภัยสุขภาพต่อไป และเป็นไปตามแผนพัฒนาธุรกิจประกันภัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564 - 2568)
ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันและเห็นว่าสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป มีดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น เห็นชอบในหลักการยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพอย่างเร่งด่วน โดยออกมาตรการรองรับทางกฎหมาย อาทิ การกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัท การกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ และการกำหนดคุณลักษณะของบริษัทที่ประสงค์จะขอแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงภัยอุบัติใหม่ (Emerging Risk) 
2. มาตรการระยะยาว จะร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลไกทางกฎหมายวางกรอบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบรรลุตามแผนพัฒนาธุรกิจประกันภัย ฉบับ 4 (พ.ศ. 2564 – 2568) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับระบบประกันภัยสุขภาพของประเทศไทยใน 2 มิติ คือ มิติประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มผู้เปราะบาง รวมทั้งมีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันเกี่ยวกับสุขภาพ และมิติภาคธุรกิจประกันภัย กำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้การประกันภัยสุขภาพมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
และกลุ่มย่อยที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “การเพิ่มขีดความสามารถในการรับประกันภัย และการพัฒนาการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน” โดยประธานกลุ่ม 3 นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ มีประเด็นหลักในการประชุม คือ แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของระบบประกันภัยไทย ในการขับเคลื่อนเศรฐกิจ รองรับความเสี่ยงของภาครัฐและประชาชน โดยเฉพาะการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ถือเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการเยียวยาความเสียหายและแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการพัฒนาการประกันภัยพืชผลให้เกิดความยั่งยืน ต้องมีการพัฒนากลไกและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ทั้งการพัฒนากฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางที่จำเป็น การพัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับเสี่ยงภัย เช่น การจัดตั้งกองทุน เป็นต้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จาก Big Data มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพิ่มการเข้าถึง และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วมากขึ้น
ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันและเห็นว่าสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป มีดังนี้
1. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินความเสียหายเพื่อให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดต้นทุน   ในการบริหารจัดการ 
2. ศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนประกันภัยด้านเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบริษัทประกันภัย 
3. พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยด้านการเกษตร เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของเกษตรกรมากขึ้น
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมถึงการให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของการทำประกันภัยอย่างยั่งยืน 
5. การเข้าถึงการทำประกันภัยของเกษตรกร โดยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเป็นรายกลุ่มในท้องที่มากกว่าการลงทะเบียนรายบุคคล และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงเกษตรกรให้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น
6. การวางโครงสร้างพื้นฐานโดยการออกกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการประกันภัยทางการเกษตรและกำหนดนโยบายได้อย่างยั่งยืน 
 
“การประชุม CEO Insurance Forum 2021 ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมประกันภัยไทย มีทิศทางและนโยบายหลักที่ผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ภาคธุรกิจและภาครัฐ ทั้งยังเป็นบทพิสูจน์ว่าภายใต้สถานการณ์ที่มีความผันผวน ธุรกิจประกันภัยยังแข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้างหน้ายังคงต้องเผชิญกับปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ อีกมาก แต่สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย จะเรียนรู้ร่วมกันและถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา พร้อมวางแผน เตรียมการและตั้งรับ เพื่อส่งเสริมให้ระบบประกันภัยของไทย เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อ
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ส่งรักทั่วไทย ให้คนไทยอุ่นใจเมื่อมีประกันภัย พ.ร.บ.

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
25 November 2564

คปภ. ส่งรักทั่วไทย ให้คนไทยอุ่นใจเมื่อมีประกันภัย ...

คปภ. ผนึกกำลังทั่วทุกภาค สร้างความอุ่นใจให้คนไทยมอบ ... 1 หมื่นฉบับ ดึงดารา นักแสดงแพนเค้ก เขมนิจ และ ท็อป จรณ กระตุ้นประชาชน ใส่ใจทำ ... เพื่อเป็นหลักประกันความคุ้มครอง พร้อมเตรียมจัดกิจกรรมส่งรักทั่วไทย อุ่นใจเมื่อมีประกันภัย ...” ใน 3 จังหวัดกาญจนบุรี อุดรธานี และลำปาง 

 

วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2564) ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว และประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อน โครงการ...รุกทั่วไทยในรูปแบบ Virtual Event โดยมีผู้แทนสำนักงาน คปภ. ภาค ทั้ง 9 ภาค ทั่วประเทศ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักเรียนนักศึกษา ประชาชน ร่วมงานผ่านระบบ Zoom และ และรับชมงานได้ที่ Facebook และ Youtube กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย 

 

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ..2535 หรือประกันภัย ... ถือเป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถสำหรับรถทุกคันทุกประเภท ต้องจัดทำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จะได้รับการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของกรมธรรม์ (กรณีบาดเจ็บคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท กรณีเสียชีวิตคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท) แต่ในปัจจุบันยังมีผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิจากการประกันภัยดังกล่าวได้  นอกจากนี้ จากข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนปี 2563 พบว่า มีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปี 2563 รวม 17,831 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 27.20 ต่อประชากร 1 แสนคน และจากสถิติการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 พบว่ามีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวนกว่า 151 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีจำนวนรถที่ไม่จัดทำประกันภัย ... เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงาน คปภ. มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (กรณีบาดเจ็บ 30,000 บาท กรณีเสียชีวิต 35,000 บาท) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที ในกรณีรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่มีประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัยพ...) หรือผู้ประสบภัยไม่อาจเข้าถึงสิทธิจากการประกันภัยได้ จึงได้จัดทำ โครงการ...รุกทั่วไทยขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถได้เห็นความสำคัญของประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัยพ...) และบทลงโทษจากการไม่ทำประกันภัยรถภาคบังคับ โดยเน้นการรณรงค์ในเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงประชาชนทั่วทุกภาค ผ่านโครงการ...รุกทั่วไทยที่มีการดำเนินการในรูปแบบทั้ง Online และ Offline ซึ่งจะมีกิจกรรมที่มอบทั้งสาระความรู้ และความบันเทิงอย่างครบถ้วน

สำหรับการดำเนินงานในโครงการ...รุกทั่วไทยประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 

 

1. กิจกรรมส่งรักทั่วไทย อุ่นใจเมื่อมีประกันภัย ...” เป็นกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนในจังหวัดต่าง ทั่วประเทศในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยในวันนี้นอกจากการแถลงข่าวจากกรุงเทพมหานครผ่านสื่อออนไลน์ไปยังผู้ชมทั่วประเทศแล้ว ยังมีกิจกรรมพบปะพี่น้องภาคใต้ จังหวัดสงขลาพร้อมกัน และอีก 3 ครั้ง เราจะไปพบพี่น้องภาคตะวันตกที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 21 ธันวาคม 2564 และภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง ในเดือนมกราคม 2565 ส่วนภาคอื่น สำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมให้ความรู้ด้านประกันภัย ... กับประชาชนอย่างเต็มที่ 

 

 

2. กิจกรรมสร้างการเข้าถึงกรมธรรม์ประกันภัย ... จำนวน 10,000 ฉบับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ สำนักงาน คปภ. มีความตั้งใจที่จะให้ระบบประกันภัยได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่าง ที่อาจเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนผู้ใช้รถ ใช้ถนน และเนื่องในโอกาสที่ใกล้จะถึงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 สำนักงาน คปภ. จึงปรารถนาที่จะส่งมอบ ... ทั้ง 10,000 ฉบับนี้ เป็นของขวัญปีใหม่ แทนความห่วงใยจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ให้กับพี่น้องประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถ โดยท่านสามารถเข้าไปลงทะเบียน เพื่อรับประกันภัย ... ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามเงื่อนไขที่กำหนดที่ www.พรบรุกทั่วไทย.com ในการแถลงข่าวครั้งนี้ยังมีพิธีกรมากความสามารถมากมาย อาทิ ดาว อภิสรา ดารานักแสดง แพนเค้ก เขมนิจ และ ท็อป จรณ ร่วมแสดงเจตนารมณ์ขับเคลื่อนโครงการ... รุกทั่วไทยรวมทั้งมินิคอนเสิร์ตจาก จ๊ะ นงผณี และกิจกรรมการเล่นเกมแจกของรางวัลกับพิธีกรคู่ นุ้ย ธนวัฒน์ (ดีเจนุ้ย) และ ดาด้า วรินดา (ดีเจดาด้า) เพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคน โดยเฉพาะเจ้าของรถจักรยานยนต์ ได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม รวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย ...)  

 

ประกันภัย ... ถือเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้รถ ใช้ถนน เพราะประกันภัย ... เป็น สิ่งแรกที่เข้ามาช่วยเยียวยาเมื่อประสบอุบัติเหตุจากรถ ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของรถและผู้ครอบครองรถทุกคนจึงควร ที่จะทำและอย่าปล่อยให้ประกันภัย ...ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีโทษปรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ที่นอกจากจะมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดแล้ว ยังพบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นรถที่ไม่มีการจัดทำประกันภัย ... มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งสำนักงาน คปภ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ ...รุกทั่วไทย ที่จัดขึ้นนี้ จะสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ และสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบประกันภัย และนำระบบประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากการใช้รถใช้ถนน และยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทุกคนช่วยกันรับผิดชอบต่อส่วนรวมหรือต่อผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันอีกด้วย ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย ... สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ.กล่าว ในตอนท้าย

หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. สั่งบริษัทจ่ายเคลมกรณี "น้องหญิง" นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถรถเบนซ์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ ที่บุรีรัมย์ พร้อมดำเนินคดีในข้อหาประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน

< >
วันที่เผยแพร่: 
22 November 2564

 คปภ. สั่งบริษัทจ่ายเคลมกรณี "น้องหญิง" นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถรถเบนซ์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ ที่บุรีรัมย์ พร้อมดำเนินคดีในข้อหาประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 พ่อแม่ของน้องหญิงผู้เสียชีวิตขับขี่รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถเบนซ์ของคู่กรณี ได้ร้องเรียนต่อผู้สื่อข่าว ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทประกันภัยผู้รับประกันภัยรถเบนซ์ของคู่กรณี ทั้งที่มีคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 โดยมีคำพิพากษาให้ผู้ขับขี่รถเบนซ์เป็นผู้ประมาทแต่ฝ่ายเดียว และตามความเห็นของสำนักงาน คปภ. จังหวัดนนทบุรี ให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 500,000 บาท และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประเภท 1) จำนวน 2 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2.5 ล้านบาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถนนสายบุรีรัมย์-สุรินทร์ ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น โดยได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับสำนักงาน คปภ. จังหวัดนนทบุรี ในฐานะผู้รับเรื่องร้องเรียน และสำนักงาน คปภ. จังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ เร่งประสานให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งติดตามและรายงานความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด 
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจในกรณีดังกล่าว เมื่อผู้ร้องได้ยื่นเรื่องร้องเรียนสำนักงาน คปภ. จังหวัดนนทบุรี ก็ได้เร่งดำเนินการและแจ้งความเห็นให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทของผู้เสียชีวิตตามกรมธรรม์ประกันภัย ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแล้ว แต่บริษัทแจ้งใช้สิทธิโต้แย้งความเห็นว่า กรณีพิพาทน่าจะประมาทร่วมทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อมีการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ได้รับเรื่องเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของทายาทของผู้เสียชีวิต จึงได้เรียกบริษัทชี้แจ้งข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 พร้อมให้ส่งเอกสารหลักฐานภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 โดยบริษัทแจ้งว่าได้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวต่อสำนักงาน คปภ. จังหวัดนนทบุรี และเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 สำนักงาน คปภ. จังหวัดนนทบุรี ได้รายงานความคืบหน้ากรณีดังกล่าว ว่าได้ประสานไปยังบริษัทเพื่อให้พิจารณาทบทวนจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทผู้เสียชีวิตโดยเร่งด่วนอีกครั้งแล้ว บริษัทยังไม่แจ้งผลการพิจารณากลับมา 
เมื่อบริษัทยังคงโต้แย้งว่า รถยนต์คันเอาประกันภัยมิได้ประมาท ซึ่งขัดแย้งกับผลของคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วข้างต้น หรือปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย หากบริษัทยังปฏิเสธไม่จ่ายเคลมดังกล่าวการกระทำของบริษัทเข้าข่ายเป็นความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2549 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 20,000 บาท จนกว่าบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเสร็จ โดยสำนักงาน คปภ. จะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และนำเรื่องเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็ว
 
"ผมขอแสดงความห่วงใยและเสียใจกับครอบครัวของน้องหญิงที่ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง สำนักงาน คปภ. พร้อมจะเข้าไปประสานให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง เห็นใจในขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยสำนักงาน คปภ. จะใช้มาตรการทางกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป เพื่อให้ระบบประกันภัยเข้าไปช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Line Chatbot@oicconnect ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

ขอเชิญเข้าร่วมงานวันต่อต้านการคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ปี2564 ผ่านระบบออนไลน์ zoom

คปภ. จัดสัมมนาวิชาการประกันภัยประจำปี Thailand Insurance Symposium 2021

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
17 November 2564

คปภ. จัดสัมมนาวิชาการประกันภัยประจำปี Thailand Insurance Symposium 2021

นำภาคธุรกิจประกันภัยบริหารความเสี่ยงจากอุบัติใหม่ในยุคหลัง COVID-19       
• ประเดิมการให้ทุนวิจัยนวัตกรรม hybrid “แอปพลิเคชั่น AgentDee” ครั้งแรกของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
 
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2564) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง เปิดเวทีระดมความรู้ในงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564 (Thailand Insurance Symposium 2021) ภายใต้แนวคิด “The New Era of Insurance : How to Manage Emerging Risks in the post COVID-19” รูปแบบเสมือนจริง (Virtual meeting) ผ่านระบบ Zoom โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Online จำนวนมาก ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษา ต่างๆ หน่วยงานภาคเอกชน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย รวมทั้งนักศึกษาหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) นักศึกษาหลักสูตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัย (CIA) และสื่อมวลชน
 
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า การจัดงาน Thailand Insurance Symposium 2021 ครั้งนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของภาคธุรกิจประกันภัย ในการประชุมสัมมนาวิชาการที่เปิดเวทีให้ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นอย่างเข้มข้นในหลากหลายประเด็น อาทิเช่น ด้านการประกันภัย และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนภาคธุรกิจประกันภัยในการปรับตัวรับ Next New Normal เพื่อให้สามารถเพิ่มโอกาสพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสร้างความเท่าเทียม (Democratization of Technology) มาปรับปรุงกระบวนการทำงานในเชิงรุกเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน และผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงเทคโนโลยีประกันภัยได้ง่ายขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการประกันภัย การบริหารความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย 
ทั้งนี้ ได้จัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิชาการให้กับ วปส. รุ่นที่ 9 โดยมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง การประกันภัยสุขภาพพื้นฐานสำหรับผู้ได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากภาครัฐ                (การประกันภัยสุขภาพภาคบังคับ) ของกลุ่มที่ 1 นำเสนอโดย คุณกัลยา จุกหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย และคุณพรวสา ศิรินุพงศ์ เลขานุการกรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง     ที่ได้รับรางวัลผลงานดีเด่น โดยมี รศ.ดร.ณดา จันทร์สม รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้วิพากษ์ และผลงานเรื่อง การใช้เทคโนโลยีติดตามข้อมูลพฤติกรรมการขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนาดใหญ่ในการคำนวณเบี้ยประกันเพื่อความปลอดภัยของสังคม ของกลุ่มที่ 6 นำเสนอโดย รศ.ดร.ชนินทร์ ทินนโชติ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับรางวัลผลงานดี โดยมี ผศ.ดร.ปรีชา วิจิตรธรรมรส หัวหน้าสาขาวิทยาการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้วิพากษ์ สำหรับรางวัลชมเชย ได้แก่ ผลงานเรื่อง แนวทางการปรับปรุงกรอบการกำกับดูแล การออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม และการเข้าถึงบริการ รวมทั้งกรณีศึกษา การให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ของกลุ่มที่ 2 ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง 
รวมทั้ง มีการนำเสนอผลการศึกษา “โครงการศึกษาผลกระทบของธุรกิจประกันภัยไทยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และศึกษารูปแบบและการดำเนินธุรกิจ ทิศทาง และรูปแบบการกำกับดูแล ตลอดจนการส่งเสริมธุรกิจ” นำเสนอโดย นายอิทธิพัทธ์ ลิมป์มณีรักษ์ Partner, Advisory จาก KPMG Poomchai Business Advisory โดยมี ผู้ดำเนินรายการคือ คุณประภาภัสร์ กุลปวโรภาส ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์และบริหารความเสี่ยง สำนักงาน คปภ. ซึ่งเป็นโครงการศึกษาของสำนักงาน คปภ. เพื่อศึกษาแนวทางของหน่วยงานกำกับในการตั้งรับและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และยังมีการบรรยายพิเศษจากวิทยากรต่างประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิภายในประเทศ ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ การบรรยายหัวข้อ “Climate Change and Insurance Industry’s Response to It” โดย Mr.Tom Mortlock, Senior Analyst, Aon Reinsurance Solutions, Australia และ Ms. Seewon Oh, Capital Advisory, Aon Reinsurance Solution, Japan การบรรยายหัวข้อ “Cyber Security Awareness in Business” โดย คุณธีรยา พงษ์พูล ประธานเจ้าหน้าที่สายงานธุรกิจลูกค้าบริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) การเสวนา หัวข้อ “Sustainable Insurance through ESG” โดยคุณไพบูล ตันกูล หุ้นส่วนกรรมการ บริษัท PwC ประเทศไทย ร่วมกับ คุณกุลวัลย์ สุพีสุนทร ผู้จัดการอาวุโสส่วนงาน Sustainability and Climate Change บริษัท PwC ประเทศไทย และปิดท้ายด้วยไฮไลท์สำคัญคือ การเสวนาจากวิทยากรที่มีบทบาทสำคัญในวงการประกันภัย และเคยเป็นนักศึกษาศิษย์เก่า วปส. ประกอบด้วย คุณสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย คุณอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และผู้ดำเนินการเสวนา ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมาย บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังมีการให้ทุนวิจัยนวัตกรรม hybrid ของ ผศ.ดร.ณัฐกรณ์ ผิวชื่น จากมหาวิทยาลัยมหิดล คือ “โครงการแอปพลิเคชัน AgentDee แพลตฟอร์มส่งเสริมการเข้าถึงตลาดการประกันภัยและการตัดสินใจเลือกซื้อประกันในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (AgentDee application: A platform to facilitate Insurance market accessibility and insurance purchase decision-making during COVID-19 pandemic crisis)” โดยงานวิจัยดังกล่าวจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประกัน โดยอ้างอิงสมมติฐานของความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต โดยเป็นส่วนหนึ่งในแพลตฟอร์ม AgentDee ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้นวัตกรรมนี้สามารถตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงการวิจัยนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้
 
 “การจัดงาน Thailand Insurance Symposium 2021 ในครั้งนี้ จะเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ทั้งจากภาคธุรกิจประกันภัย ภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาคธุรกิจอื่น ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองและเชื่อมต่อการทำงานผ่านการสร้างพันธมิตรในการประกอบธุรกิจ อันจะเป็นการผลักดันให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ รวมถึงเสริมสร้างโอกาสการทำธุรกิจ สอดรับกับการปรับตัวของธุรกิจสำหรับการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาองค์กรให้เป็นการผสมผสานระหว่างความสามารถของบุคลากรและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการดำเนินการขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแบบ Bionic Company ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเติบโตแบบยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยและเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกัน ทั้งในภาคส่วนธุรกิจประกันภัยและธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
 
หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. ถกด่วนภาคธุรกิจประกันวินาศภัย กรณีประกันภัย COVID-19 เจอจ่ายจบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน

< >
วันที่เผยแพร่: 
15 November 2564

 

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมประกันภัยวินาศภัยไทย มีหนังสือลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ถึงประธานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ประธานบอร์ด คปภ.) ขอให้พิจารณาทบทวน Macroprudential Supervision สำหรับการรับประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) พิจารณาทบทวนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 และต่อมานายกสมาคมประกันวินาศภัยมีหนังสือลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ขอเข้าพบเพื่อรายงานสถานการณ์วิกฤตจากการรับประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ รวมทั้งนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ให้ข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่อง ข้อกำหนดห้ามไม่ให้บริษัทรับประกันเพื่อวินาศภัยอันเดียวกันเกินกว่า 10% ของเงินกองทุนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย .. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากหากเกิดความเสียหายขนาดใหญ่ขึ้นแล้วการจ่าย ค่าสินไหมทดแทนจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัทได้ ซึ่งจะเห็นว่ากรณีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัย COVID-19 ถือเป็นความเสี่ยงอุบัติใหม่ และได้ส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยเกินกว่า 10% ไปเป็นจํานวนมาก นั้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว และป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามบานปลาย สำนักงาน คปภ. จึงได้มีหนังสือเชิญนายกสมาคมฯ และกรรมการบริหารสมาคมฯ ทุกคนเข้าประชุมหารือกับเลขาธิการ คปภ. และคณะผู้บริหารของสำนักงาน คปภ. และรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในวันนี้ (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) โดยมี   บริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ เข้าร่วมประชุมด้วย

 

 

ทั้งนี้ ในวันนี้ (15 พฤศจิกายน 2564) นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยและกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์ที่ผ่านมาและประมาณการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย COVID-19 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ จะส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญซึ่งอาจจะส่งผลให้บริษัทมีปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ส่วนประเด็นการขอยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564  สมาคมฯ ให้ข้อมูลว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประมาณกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ว่าในอนาคตจะสูงขึ้นอีก จึงมีความจำเป็นที่ต้องขอยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัย COVID-19 ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันให้ยึดถือประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยสำนักงาน คปภ. ยินดีที่จะรับฟังข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมของรายบริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบเพื่อพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบให้ตรงกับปัญหาของแต่ละบริษัท และส่งเสริมการทำทางเลือกให้ผู้เอาประกันภัยเลือกเปลี่ยนความคุ้มครองหรือประเภทกรมธรรม์ประกันภัยหรือทางเลือกอื่น ด้วยความสมัครใจของผู้เอาประกันภัย จึงเห็นว่าบริษัทที่ประสบปัญหาสามารถใช้แนวทางนี้ในการบรรเทาผลกระทบไปก่อนได้ ส่วนประเด็นที่ยังเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่อง การขอยกเลิกเงื่อนไข   การใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เพราะสำนักงาน คปภ. เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประกัยภัยโดยภาพรวมด้วย ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้มาตรการที่เหมาะสมต่อไป

 

เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมกับสมาคมฯ แล้ว เลขาธิการ คปภ. ได้ประชุมร่วมกับรองเลขาธิการ คปภ. ทั้งสามด้าน รวมทั้งผู้ช่วยเลขาธิการ สายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมมีมติดังนี้

 

1. การดำเนินการในแก้ปัญหา สำนักงาน คปภ. จะยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ    

 

2. คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ยังมีผลบังคับตามกฎหมายอยู่ บริษัทต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว ส่วนประเด็นที่ยังเห็นไม่สอดคล้องกัน จะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้มาตรการ ที่เหมาะสมต่อไป 

 

3. สำนักงาน คปภ. ได้รับทราบความเดือดร้อนของภาคธุรกิจและยินดีให้ความช่วยเหลือเพื่อให้พ้นวิกฤต โดยที่ผ่านมา คปภ. ได้ผ่อนคลายกฎกติกาให้ไปแล้วหลายเรื่อง แต่มาตรการการช่วยเหลือบริษัทที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด จะต้องขึ้นอยู่กับสถิติ ตัวเลขข้อมูลต่าง ที่ถูกต้อง แม่นยำและผลกระทบต่าง ในทุกมิติ ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ และที่สำคัญจะต้องไม่ทำให้ผู้เอาประกันภัยเดือดร้อน และต้องไม่เป็นการรอนสิทธิของประชาชนผู้เอาประกันภัย 

 

4. จะเร่งเชิญบริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ มาสอบถามและขอข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการจัดทำ Stress Test เพื่อประเมินความทนทานของรายบริษัทและระบบประกันภัยภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงจำลองสำหรับการแพร่ระบาดของ COVID-19 

 

5. บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบจากการเสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ อาจพิจารณา เข้าร่วมโครงการผ่อนผันเพิ่มเติม เพื่อเสริมมาตรการเยียวยาให้บริษัทมีสภาพคล่องพร้อมที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัย COVID-19 ให้กับผู้เอาประกันภัยได้มากขึ้น 

 

6. หากสมาคมฯ ต้องการเสนอมาตรการผ่อนผันเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบ ให้เร่งนำเสนอ เพื่อสำนักงาน คปภ. จะได้กลั่นกรองและเร่งนำเสนอต่อบอร์ด คปภ. โดยเร็ว

 

7. ในระหว่างที่มีการดำเนินการข้างต้น หากบริษัทประกันวินาศภัยใดที่ประสบปัญหาต้องการดำเนินการเพื่อมิให้ปัญหาการขาดสภาพคล่องลุกลามบานปลาย การเสนอแนวทางปรับปรุงเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 โดยเสนอทางเลือก\ที่น่าสนใจในการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทเดิม หรือปรับเปลี่ยนไปให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่นที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยมากขึ้น สามารถกระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นเรื่อง ความสมัครใจของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น บริษัทไม่สามารถไปบังคับผู้เอาประกันภัยให้ยอมรับการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หรือยอมรับเงื่อนไขความคุ้มครองใหม่ของบริษัท ดังนั้น การเปลี่ยนสิทธิหน้าที่หรือความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยจะสามารถกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้มีการแสดงเจตนา หรือให้ความยินยอมโดยชัดแจ้งในการตอบรับข้อเสนอของบริษัทเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ผู้บริหารของบริษัทชี้แจงและได้ตรวจสอบ\ข้อเท็จจริงแล้ว ได้รับการยืนยันว่า การดำเนินการของบริษัทเป็นการเสนอทางเลือกให้กับผู้เอาประกันภัย โดยเป็นไป ด้วยความสมัครใจของผู้เอาประกันภัย จะไม่มีการบังคับผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด โดยเป็นวิธีการที่บริษัทพยายามหาแนวทางบริหารความเสี่ยงเพื่อลดปัญหาการขาดสภาพคล่องเพื่อให้อยู่รอดได้ และยืนยันจะปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน โดยสำนักงาน คปภ.ได้กำชับให้บริษัทดำเนินการดังกล่าว ด้วยความสมัครใจของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยไม่ยอมรับทางเลือกที่เป็นข้อเสนอของบริษัท สัญญาประกันภัยของผู้เอาประกันภัยก็ยังมีผลบังคับต่อไปเหมือนเดิมทุกประการ

 

 

ขอให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่า สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการอย่างเต็มที่ และจะติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย แต่อย่างไรก็ตาม ก็พร้อมที่จะรับฟังและหามาตรการเยียวยาปัญหาให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบจากการเสนอขายประกันภัย COVID-19 ด้วย เพราะการประกอบธุรกิจประกันภัยต้องอยู่ได้ด้วยความเชื่อมั่นของประชาชนเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

หมวดหมู่ข่าว: 

คปภ. มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เพื่อช่วยกลุ่มอาสารักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า ในพื้นที่สาลิกาและนาหินลาด จังหวัดนครนายก

< >
<
>
วันที่เผยแพร่: 
13 November 2564

 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในพิธีมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มแก่บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและราษฎรที่มีจิตอาสาในการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า ในตำบลสาลิกา อำเภอเมือง และตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ปฏิบัติภารกิจรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่าที่มาทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีคณะผู้บริหาร ของสำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และคณะผู้บริหาร ของจังหวัดนครนายก ร่วมส่งมอบกรมธรรม์จำนวน 39 ราย ให้กับนายอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก โรงแรมรอยัล ฮิลล์ จังหวัดนครนายก ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก กล่าวขอบคุณสำนักงาน คปภ. ที่สนับสนุนกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มดังกล่าว ซึ่งการรับมอบในครั้งนี้ มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยให้กับอาสาสมัครผู้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ โดยไม่มีค่าตอบแทนและสวัสดิการใด รองรับ อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับอาสาสมัครได้อุ่นใจในขณะปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่าอีกด้วย

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ภาค 4 (นครราชสีมา) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดนครนายก ได้บูรณาลงพื้นที่และทราบการขอการสนับสนุนการประกันภัย เพื่อรองรับความเสี่ยงภัยของผู้ปฏิบัติภารกิจรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า ในตำบลสาลิกา อำเภอเมือง และตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี จากผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน และส่งเสริมการทำประกันภัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ปฏิบัติภารกิจรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า เนื่องจากเป็นภารกิจที่มีอันตรายและมีความเสี่ยงสูง หากไม่มีผู้ที่มีจิตอาสาเข้ามาปฏิบัติภารกิจดังกล่าว อาจทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการบุกรุกของช้างป่าที่มาทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินมากขึ้น    อีกทั้ง ที่ผ่านมา พบว่า เหล่าผู้ปฏิบัติหน้าที่และอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่าได้รับบาดเจ็บจากช้างป่าทำร้ายร่างกายอยู่บ่อยครั้ง โดยที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่และอาสาสมัครเหล่านั้นไม่ได้เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่มีสวัสดิการรองรับที่เพียงพอกับความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น จึงได้สนับสนุนการประกันภัยให้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่    เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระครอบครัวและรองรับความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต และร่างกาย โดยมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มอาสาเฝ้าระวังช้างป่าให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่และอาสาสมัคร จำนวน 39 ราย ซึ่งมีระยะเวลาเอาประกันภัยขณะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ด้วยเบี้ยประกันภัย 603 บาทต่อราย ให้ความคุ้มครองใน 2 กรณีหลัก ได้แก่ กรณีการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุทั่วไปขณะเข้าปฏิบัติภารกิจ รวมถึงอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และการถูกฆาตกรรมหรือลอบทำร้ายร่างกาย ให้ความคุ้มครองเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท และกรณีค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ให้ความคุ้มครองเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000 บาท โดยสำนักงาน คปภ. สนับสนุนด้วยเงินสวัสดิการของสำนักงานฯ เป็นค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 23,517 บาท และบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับประกันภัย 

 

ต้องขอชื่นชมและยกย่องผู้ที่มีจิตอาสาปฏิบัติภารกิจที่มีความเสี่ยง ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่เสียสละ สมควรที่จะได้รับการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในด้านสวัสดิการต่าง อย่างเต็มที่และเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มอาสารักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและการดูแลเฝ้าระวังจากการบุกรุกของช้างป่า มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจต่อไป สำนักงาน คปภ. พร้อมที่จะบูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชนและชุมชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เสียสสะ และหวังว่าระบบประกันภัยจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนได้เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

หมวดหมู่ข่าว: 

Pages

Subscribe to RSS - ข่าว